นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กพต. พร้อมคณะ ประกอบด้วย พล.อ.ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์ ที่ปรึกษารองนายกฯ นางทัศนีย์ ผลชานิ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้เดินทางมายังสะพานข้ามพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองรันตูปันยัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2  เชื่อมต่อระหว่าง อ.สุไหโก-ลก กับ เมืองรันเตาปันยัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมติครม. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2552 ลักษณะโครงการอยู่ภายใต้กรอบ JDS, IMT – GT และแผนงานพัฒนาของ ศอ.บต. ออกแบบโดยประเทศมาเลเซีย สะพานมีความยาว 116 เมตร คู่ขนานกับสะพานเดิมด้านทิศตะวันตกงบประมาณฝ่ายไทย จำนวน 160 ล้านบาท สถานะปัจจุบันเมื่อเดือน มี.ค. 64 ฝ่ายมาเลเซียขอเข้าสำรวจพื้นที่ฝั่งไทย เนื่องจากโควิด 19 ฝ่ายไทยจึงเสนอช่วยเก็บข้อมูลให้ ในวันที่ 13 ธ.ค. 64, 26 พ.ค. 65 และวันที่ 22 พ.ค. 66 มีการจัดประชุมเทคนิคร่วมไทย-มาเลเซีย เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 66 สองฝ่ายสำรวจพื้นที่ร่วมกันมีการสรุปการปรับแก้ไขแบบคาดว่าฝ่ายมาเลเซียจะส่งแบบให้ฝ่ายไทยพิจารณา ภายในเดือน พ.ย. 66 และจะมีการจัดประชุมด้านเทคนิคร่วมไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 4 ในช่วงปลายปี 66 ซึ่งคาดว่าน่าจะมีแผนการก่อสร้าง

 ต่อมา นายสมศักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และคณะได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ อาทิ นายปรีชา นวลน้อย รอง ผวจ.นราธิวาส นายวัลลภ วุฒาพาณิชย์ นายด่านศุลกากรสุไหโก-ลก นาสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเทศบาลเมือสุไหโก-ลก นายอนิรุทร บัวอ่อน นายอำเภอสุไหงโก-ลก พ.ต.อ.พูลศักดิ์ แก้วศรีขาว ผกก.ตม.จว.นราธิวาส พ.ต.ท.ธีระโชติ ปฐมวณิชกะ ผบ.ร้อย ตชด.447 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมกว่า 50 คน เพื่อติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการสร้างสะพานคู่ขนาน 2 แห่ง ในพื้นที่ อ.ตากใบ และ อ.สุไหโก-ลก ในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในประเทศทุกกลุ่มที่ต้องมีอาชีพ มีงานทำและมีรายได้ที่เพียงพอเหมาะสม หลุดพ้นจากความยากจน ประเด็นสำคัญคือส่วนท้อถิ่นต้อรีบเร่ในการเวนคืนที่ดินขอประชาชน เพื่อเตรียมรอรับการก่อสร้างสะพานทั้ง 2 แห่ หากไทยมาเลเซียมีความพร้อมสามารถที่จะก่อสร้างได้ทันที

 ด้าน นายสมศักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราต้องการมีสะพานคู่เพราะในขณะนี้ดูจากปริมาตรสินค้าที่ส่งออกและนำเข้า สถานภาพการค้าในชายแดนของการส่งออกดีสำหรับประเทศของเรา การที่เราจะเพิ่มสะพานแล้วให้ออกเข้าสัญจรไปมา การตกลงระหว่างทั้ง 2 ประเทศที่ออกงบประมาณกันคนละครึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน แต่ในส่วนของสะพานตากใบก็มีความคิดหลากหลาย หากเรายังใช้แนวเดิมอยู่ซึ่งทำ อี.ไอ.เอ.เรียบร้อยแล้ว ถึงแม่ร่องน้ำโก-ลก ช่วงตากใบมีช่องประมาณ 100 กว่าเมตร เราต้องมาสร้างสะพานอีก 2 แห่ง ในเส้นทางเดียวกันที่ต้องมาสร้างที่บางนราด้วย เราต้องยกถนนลักษณธคล้ายสะพานอีก รวมแล้วประมาณเกือบ 2 ก.ม.ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทางท้องถื่นพยายามปรึกษาหารือกันเรื่องของการเวนคืน โดยปี 60 สินค้าส่งออกประมาณ 320กว่าล้านบาท แต่วันนี้ไม่เลย ซึ่งการส่งออกทางแพขนานยนต์ของทั้ง2ประเทศพี่น้องประชาชนไม่นิยมที่จะใช้ ข้อสำคัญเราตบมือข้างเดียวไม่ดังทางมาเลเซียเขาต้องเห็นชอบด้วย ค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จโดยประเมินจะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว สักประมาณ 2,500 ล้านบาท ที่ตากใบเรามีคนข้ามอย่างเดียวปีหนึ่งประมาณ 150.000 คน ในส่วนของโก-ลก เรานับดูจากสินค้าการส่งออกไม่น่าเป็นห่วง การขอสะพานแต่ละแห่งมีเงื่อนไขหลายอย่างการทำ อี.ไอ.เอ. ต้องใช้เวลาความพยายามของท้องถิ่น ส่วนราชการและผู้เกี่ยวข้อทั้งหลายรวมทั้งตัวผมเองพยายามเร่งรัดให้แล้ว ท้องถิ่นต้องติดตามซึ่งโครการที่เกี่ยวข้อเรื่องน้ำ การขออนุญาตมันมี 6 ขั้นตอน การสร้างสะพานข้ามประเทศเนี่ยต้องดูร่องน้ำ สิ่งที่เป็นอุปสรรคการคมนาคมการขนส่งรวมถึงตัวเลขของเศรษฐกิจต่างๆด้วย

ข่าว/ซาการียา/จ.นราธิวาส