จากวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันที่เจริญก้าวหน้าไปมาก    ทำให้สามารถยืดอายุไขของมนุษย์ได้ยาวนานมากขึ้น    ทำให้กลุ่มประชากรผู้สูงอายุของทั้งโลก มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี     สำหรับในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2565 คาดการณ์ว่ามีประชากรสูงอายุ ประมาณ 12 ล้านคน    และน่าจะมีผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน  อยู่ประมาณ  3-4  ล้านคน     แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่า   ผู้ป่วยมากกว่า ร้อยละ 50 ไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้ และไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ความสำคัญของ  “  โรคกระดูกพรุน  “

นพ.สุนทร  ศรีสุวรรณ์   ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (กระดูกและข้อ)  โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่  กล่าวว่าโรคนี้เปรียบเหมือน ภัยเงียบ คือ   “  เป็นโรค แต่ไม่รู้ตัว “   ไม่ค่อยแสดงอาการ กว่าจะรู้ บางทีก็เกิดกระดูกหักแล้ว  หากเป็นกระดูกชิ้นเล็กหัก  อาทิ เช่น กระดูกข้อมือ  กระดูกฝ่าเท้า ก็อาจจะไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตมาก แต่หากเป็นกระดูกส่วนที่สำคัญ  เช่น กระดูกสันหลัง  กระดูกสะโพก  จะส่งผลให้เกิดภาวะทุพพลภาพมาก  และผู้ป่วยบางท่าน อาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัด  ( ซึ่งผู้สูงอายุ ย่อมมีความเสี่ยง ต่อภาวะแทรกซ้อนมากกกว่า คนหนุ่มสาว )   และ ผลการผ่าตัดในผู้ป่วยบางรายอาจไม่ดีมากนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยของผู้ป่วย เป็นสำคัญ อาทิ เช่น โรคประจำตัว  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  ความสามารถในการเรียนรู้กระบวนการกายภาพบำบัด    ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุด คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ เป็นหัวใจสำค้ญในการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน ปกติกระดูกของคนเรา  จะมีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกสูงสุด  ในช่วงอายุประมาณ 30  ปี  หลังจากนั้น เมื่ออายุมากขึ้น ความหนาแน่นของกระดูกก็จะค่อยๆลดลง ตามวันเวลา  ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงด้วย  หากเปรียบเทียบกระดูกก็เหมือนโครงสร้างบ้าน  เทียบได้กับ ปูนและเหล็กเส้น  เมื่อเวลาผ่านไปเหล็กก็เสื่อมสภาพอาจเกิดสนิม    เนื้อปูนก็อาจกะเทาะหลุดลอก   ทำให้บ้านเสี่ยงต่อการทรุดตัวพังทลายลง    กระดูกก็เช่นกันเมื่อเนื้อกระดูกลดน้อยลง  ก็ทำให้มีโอกาสหักยุบ  งอตัวได้ง่ายขึ้น  ผู้ป่วยบางท่าน อาจไม่ได้ ทำงานอะไรหนักหรือรับอุบัติเหตุใดๆ  แค่ก้มตัวบางทีกระดูกก็เกิดการยุบตัวได้เอง   อันเป็นผลสืบเนื่อง จากโครงสร้างกระดูกที่เสื่อมสภาพ 

ดูแลรักษา โรคประจำตัว อย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตัว อย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์   ปรับเปลี่ยนสภาวะ สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน  เพื่อ ลดโอกาสการหกล้ม เช่น  เพิ่มหลอดไฟ ในจุดที่มีโอกาสหกล้ม , ปรับพื้นห้องน้ำ ให้ระดับเดียวกัน , เพิ่มราวจับ เพื่อช่วยทรงตัว ในจุดที่มีโอกาสหกล้ม เป็นต้น การตรวจวินิจฉัย ทางการแพทย์  การตรวจที่เป็น มาตรฐาน ในปัจจุบัน คือการตรวจ เอ็กซเรย์เพื่อหาความหนาแน่นของมวลกระดูกครับ  หรือ เรียก ทางการแพทย์ว่า DEXA scan  ( เด๊กซ์ซ่า สแกน )  โดยเป็นการตรวจโดยใช้ รังสีเอ็กซเรย์ทางการแพทย์ เช่นกัน (  แต่ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่ามาก และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ )   ตรวจบริเวณ กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก  โดยการวินิจฉัย ว่า เป็น โรคกระดูกพรุน ค่าความหนาแน่นกระดูกที่ได้ ต้อง น้อยกว่าหรือเท่ากับ   -2.5  ( ลบ 2.5 ) ครับ     ซึ่งแนะนำให้เริ่มทำการรักษา โดยใช้ยาสำหรับโรคกระดูกพรุน ได้ทันทีครับ

 ซึ่งตามปกติ เครื่องตรวจความหนาแน่นกระดูกนี้ จะมีราคาแพง และ มีใช้ตาม โรงพยาบาลใหญ่ๆ เท่านั้น   ทาง องค์การอนามัยโลก  [WHO] ได้เล็งเห็น ความสำคัญของโรคนี้ เป็นอย่างมาก จึงได้มีการพัฒนา เครื่องมือตรวจคัดกรองอีกรูปแบบนึง ที่ สามารถใช้ตรวจประเมินความเสี่ยง  โอกาสที่จะเกิดกระดูกหัก ในอนาคต  เรียกว่า  FRAX  Tool ซึ่งสามารถทำการ คำนวณ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้    ซึ่งหมอขอไม่กล่าว รายละเอียดเชิงลึกนะครับ แต่เชื่อเหลือเกินว่า แพทย์เฉพาะทาง  ณ โรงพยาบาลใกล้บ้านของท่าน    ที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ สามารถใช้  FRAX Tool  และ รักษาโรคกระดูกพรุน  ได้อย่างแน่นอนครับ  สามารถหาความรู้ทางโรคกระดูกและข้อได้เพิ่มเติมที่ www.thedoctorbone.com

ภาพ-ข่าว นายปรีชา สถิตเรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา