จากกรณี ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากพ่อค้าแม่ค้าและชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ว่าถูกนิติบุคคลหมู่บ้านดำเนินการรื้อถอนร้านค้ากว่า 20 ร้าน ที่ตั้งอยู่บริเวณสนามเด็กเล่นซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้าน ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าดำเนินกิจการมานานกว่า 10 ปี โดยอ้างว่าไม่มีการประชุมเพื่อออกญัตติรื้อถอน มีเพียงแจ้งปากเปล่าให้ดำเนินการภายในวันที่ 9 มี.ค.68 กระทั่งช่วงเช้าทางนิติบุคคลได้นำทีมงานประมาณ 6-7 คนเข้าดำเนินการรื้อถอนร้านค้า ทำให้ทรัพย์สินของพ่อค้าแม่ค้าหลายรายได้รับความเสียหาย สร้างความไม่พอใจให้กับพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่ จนนำไปสู่ความตึงเครียดและมีปากเสียงกัน หวิดเกิดการปะทะ

ต่อมา พ.ต.อ.รักศักดิ์ เมฆจินดา ผกก.สภ.ปลายบาง ได้รับแจ้งเหตุจึงนำกำลังตำรวจสายตรวจและฝ่ายสืบสวน เดินทางมาที่จุดเกิดเหตุ พร้อมทั้งเชิญตัวแทนนิติบุคคลและตัวแทนร้านค้าเข้าประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยมีนายธนวัฒน์ วัฒนวงษ์สิงห์ ปลัดอำเภออาวุโส อำเภอบางกรวย และนายสุรชัย โชคสกุลวงษ์ กำนันตำบลปลายบาง ร่วมเจรจา แต่เบื้องต้นยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงแนะนำให้นิติบุคคลและพ่อค้าแม่ค้าดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป

ทีมข่าวลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านเอื้ออาทรบางกรวย ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เข้าพูดคุยกับนายฉลาด ดอนรอดภัย อายุ 46 ปี ประธานกรรมการนิติหมู่บ้าน กล่าวชี้แจงว่า ก่อนที่ตนจะรับตำแหน่งกรรมการมีการแจ้งเตือนก่อนหน้าหลายปีแล้วมีเอกสาร ชัดเจน ที่ตรงนี้ที่ชาวบ้านมาเปิดร้านขายของ เป็นพื้นที่การจัดสรร ให้กับลูกบ้านเป็นสนามเด็กเล่น เป็นพื้นที่ส่วนรวม มีกลุ่มแม่ค้าประมาณ 20 คนมาใช้พื้นที่เปิดร้านค้า ขายของ ก่อนที่ตนจะเข้ามา ไม่น่าถึง 10 ปี เห็นว่ามีร้านค้าทยอยเข้ามาขายก่อนหน้านี้ อาจจะเป็นความบกพร่องของทางนิติ ที่ไม่ได้เข้าดำเนินการแต่ช่วงแรก แต่ต้นทราบมาว่าได้มีการแจ้งเตือนมาเรื่อยเรื่อยจนลูกบ้านร้องเรียนหนักขึ้นมาทาง เคหะและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และได้แจ้งให้นิติลงไปจัดการ หลังจากตนได้มาเป็นกรรมการ

จึงได้เริ่มดำเนินการแจ้งเตือน ให้ย้ายออกทั้งที่พื้นที่เคหะมีสถานที่ให้ขายของอยู่ด้านนอก เป็นพื้นที่เฉพาะ แต่ทางแม่ค้าไม่ยอมไปขาย ตนมองว่าเป็นการบุกรุกพื้นที่ชาวบ้านจะมาวิ่งออกกำลังกาย ใช้สนามเด็กเล่นไม่ได้ มีการรุกล้ำ มีบางคนบอกว่าทางนิติไปพูดปากเปล่าให้แม่ค้าออกนอกพื้นที่ตนยืนยันว่า มีการพูดคุยมีการแจกเอกสารและมีการบันทึก ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอไว้ นำเอกสารไปแจกชาวบ้านแต่ถูกชาวบ้านฉีกทิ้ง จนกระทั่งถึงวันก่อนการรื้อทางนิติก็นำเอกสารไปแจกอีกครั้ง ก่อนน่าจะรื้อได้นำป้ายไวนิล ไปติดเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ก่อนทำการ รื้อถอนและได้มีการประชุมใหญ่สามัญทุกปี การประชุมทุกครั้งจะมีการคุยเรื่องร้านค้าในที่ประชุม มีการอนุมัติแล้วทางคณะกรรมการก็อนุมัติ ทางร้านค้าก็เข้าประชุมด้วยรับรู้ทุกอย่างทั้งที่บางคนที่เปิดร้านค้าก็เป็นกรรมการโหวดในที่ประชุม ตนแปลกใจมากว่าไปให้ข่าวว่าไม่รับรู้

นายพรเทพ เพ็ชรรักษ์ อายุ 64 ปี คณะกรรมการนิติบุคคล กล่าวว่า มีการร้องเรียนจากลูกบ้านว่ามีร้านค้ามาขายของลุกล้ำที่สารธรณะร้องเรียนประมาณ 3 ครั้งไปที่การเคหะแห่งชาติ ทางเคหะได้ทำหนังสือมาให้กับนิติบุคคล ให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดในกรณีรุกล้ำที่สาธารณะ ซึ่งเป็นอำนาจของการเคหะ ซึ่งทางนิติได้ทำหนังสือบอกกล่าวประมาณสามครั้งแล้วทางผู้อยู่อาศัยได้มาบอกกับทางนิติว่ารถแม่ค้าและลูกค้าจอดขวางทางเด็กมาเล่นกีฬาไม่ได้ เนื่องจากร้านค้ารุกล้ำที่สาธารณะที่เด็กวิ่งเล่น บางครั้งมีการกระทบกระทั่งกันเตะฟุตบอลไปโดนร้านค้าได้รับความเสียหาย ซึ่งทางคณะกรรมการทุกคนได้มีการคิดวางระบบระยะยาวให้กับแม่ค้าเนื่องจากทางกรรมการและทางนิติสงสารแม่ค้าที่ขายของกลัวจะเสียรายได้อยากให้จัดระเบียบเป็นล๊อคและเก็บค่าส่วนกลางเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นค่าบำรุงพื้นที่แม่ค้าจะได้ไม่ต้องเลิกขายและมีรายได้ ทางนิติได้เสนอไปยังการเคหะแห่งชาติแต่ทางเคหะไม่ อนุญาตให้ดำเนินการต่อเมื่อวานทางฝ่ายปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาประชุมหารือได้ข้อยุติว่าการที่รุกล้ำพื้นที่สาธารณะไม่สามารถใช้ประโยชน์ตรงนี้ได้ขอความกรุณาแม่ค้าที่เหลือเหลืออยู่ 3 ร้านค้าให้ออกจากพื้นที่ ทางร้านค้ายอมออกทางนิติบุคคลก็ไม่ไปรื้อหรือไปแตะเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่ง แม่ค้าคือเพื่อนบ้านคือพี่น้องของพวกตนอยากให้อยู่กันอย่างสันติ เมื่อวานมีพนักงานทั้งหมด 60 คนถ้าจะใช้กำลังรื้อไม่ถึง 5 นาทีก็รื้อเสร็จ แต่ทางนิติก็ต้องหยุดเกรงว่าจะเกิดการกระทบกระทั่งกันส่วนเรื่องกฎหมายคงจะต้องดำเนินการต่อกับผู้ที่บุกรุกหลังจากนี้จะให้แม่ค้าไปอยู่ที่โดมที่มีการจัดให้แม่ค้าอยู่แล้วตอนนี้ขอความร่วมมือ 20 กว่าร้านค้าทางนิติได้ช่วยแม่ค้าขนของออกจากพื้นที่
ภาพ/ข่าว ฉัตรมงคล สิงห์โต ผู้สื่อข่าว จ.นนทบุรี