Statistiche web
ชุมพร อบจ.ชุมพร-สส. วิชัย-จ.ชุมพร และผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน ร่วมประชุมแก้ไขปัญหาการส่งออกทุเรียนปี 68

ที่ห้องประชุมกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ชั้น 3 อบจ.ชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผวจ.ชุมพร นายนพพร อุสิทธิ์ นายกฯ อบจ.ชุมพร และ นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สส.ชุมพร เขต. 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมประชุมรับฟังปัญหาส่งออกทุเรียนทั้งระบบ โดยมี เจ้าหน้าที่จาก กรมวิชาการเกษตร ล้ง-ผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน ผู้ประกอบการร้านค้าจำหน่ายสารเคมีทุเรียน สมาคม และ เกษตรกรชาวสวนทุเรียน สมาคมเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ในพื้นที่จังหวัดชุมพรทั้งระบบเข้าร่วม

นายนพพร อุสิทธิ์ นายกฯ อบจ.ชุมพร กล่าวว่า การประชุมหารือปัญหาทุเรียนของจังหวัดชุมพร เพื่อการส่งออกในวันนี้ เราได้เชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทุเรียนทั้งระบบ ไม่ว่า สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 กรมการค้าภายใน, ล้ง-ผู้ประกอบการส่งออก, ร้านจำหน่ายสารเคมีที่ใช้ในการปลูกทุเรียนและเกษตรกรชาวสวนทุเรียนทั้งระบบ เพื่อมาแลกเปลี่ยนปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากการส่งออกทุเรียน โดยเร็วในเร็วๆนี้ ทาง อบจ.ชุมพร เราทำงานเชิงรุกโดยได้ให้ นายนิษกัณฐ์ ยังสุข ที่ปรึกษา นายกฯ อบจ.ชุมพร(ด้านเศรษฐกิจ) เป็นหัวหน้างานหลักในการนำคณะทำงานไปดูงานโดยเฉพาะห้อง LAP ที่ได้มาตรฐานที่จีนรับรอง เพื่อมาเป็นข้อมูลให้ จ.ชุมพรได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมส่งออกทุเรียนชุมพรต่อไปในอนาคต

 ทางด้าน น.ส. อุมาภรณ์ สุจริตทวีกุล ผอ.กลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ปัญหาที่เราพบในการส่งออกทุเรียนไปจีนในวันนี้ มีสารที่ทางประเทศจีนแจ้งมาคือ สารแคดเมี่ยม และ สาร By2 แต่ทุเรียนชุมพรจากการที่เจ้าหน้าที่ลงสนามทั้งแปลงปลูก ล้งที่ส่งออกเราจะพบ “สารแคดเมี่ยม” ได้น้อยมากๆ แต่ที่เราถูกจีนตีกลับทุเรียนมักจะพบว่ามี ”สาร By2“ ตกค้าง ที่มาจากการฟุ้งกระจายลอยตัวอยู่ในอากาศได้นาน แล้วทำให้เกิดการปนเปื้อนในทุเรียนที่เข้ามาในพื้นที่นั้นๆได้   

ดังนั้นเราจะต้องให้ห้อง แลป(LAB) รับรองผลการตรวจสอบสารดังกล่าว แล้วได้แนะนำเกษตรกร – ล้ง ต่างๆในพื้นที่ชุมพรอย่าใช้อุปกรณ์ที่มีการตรวจพบ “สาร By2” แล้วต้องทำความสะอาดในพื้นที่ทั้งหมด ไม่ว่าฝ้าเพดาน โคมไฟในพื้นที่ เพราะมันจะตกค้างได้ง่าย

  แหล่งข่าว(ไม่ประสงค์จะออกนาม) กล่าวว่าเสริมว่า ประเด็นปัญหาในปัจจุบันเรื่องของทุเรียน จ.ชุมพร มีก็คือ 1. LAB มีไม่เพียงพอ เพราะในพื้นที่มีเพียง 2 แห่งเท่านั้น ที่มีมาตรฐานและได้รับการไว้วางใจจากประเทศจีน ซึ่งก็ไม่เพียงพอในการให้บริการแก่ ล้ง – เกษตรกรชาวสวนทุเรียนและผู้ส่งออก

 2.ระยะเวลาการส่งออกก็ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น จากเดิมเราส่งออกทุเรียนไปจีนใช้เวลา 7 – 8 วัน แต่วันนี้เราต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นเป็น 15 วันขึ้นไป ทำให้ทุเรียนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคเสียบ้าง แตกบ้างเสียบ้าง จนทำให้การนำเข้าถูกระงับแล้วตีกลับมา

 3.การล้างทุเรียน จะส่งผลให้ทุเรียนเสียง่าย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเกษตรกร-ล้ง เพราะผิวทุเรียนมีความบอบบางมาก และก่อให้เกิดความเสียหายแม้จะพบเพียงตู้เดียวแต่ก็จะถูกตีกลับทุกตู้ในรอบนั้นๆ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ส่งออกทุเรียน ประสบภาวะขาดทุน ซึ่งจะส่งผลต่อการรับซื้อทุกเรียนจากเกษตรกรที่ถูกลงอีกด้วย.//

ประสิทธิ์ ลีฬหคุณากร/ชุมพร

[dsm_icon_divider use_icon=”on” font_icon=”||divi||400″ use_icon_font_size=”on” icon_font_size=”25px” divider_style=”dashed” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” module_alignment=”center” global_colors_info=”{}”][/dsm_icon_divider]
[dsm_blog_carousel posts_number=”20″ posts_offset=”1″ include_categories=”3,5,4″ use_date=”off” use_category=”on” use_author=”off” use_readmore=”on” readmore_text=”อ่านเพิ่ม…” post_equal_height=”on” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” title_font_size=”25px” min_height=”482px” custom_margin=”||639px||false|false” custom_padding=”||340px|||” global_colors_info=”{}”][/dsm_blog_carousel]