Statistiche web
สถานการณ์หมอกควัน ของจังหวัดแพร่ “ส่อเค้า” รุนแรงชาวบ้านตั้งคำถามกับภาครัฐ จริงใจแก้หรือไม่

สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่จังหวัดแพร่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่ทางราชการมีมาตรการเข้มงวดห้ามจุดไฟเผาป่าหรือเผาในที่โล่งแจ้งโดยเด็ดขาด  แต่พบว่ามาตรการดังกล่าวมิได้ทำให้ไฟป่าหมดไปยังคงมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ทั้ง 8 อำเภอของจังหวัดแพร่แม้ว่ามีจุด hotspot น้อยลงแต่การเกิดหมอกควันในอากาศจนส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนมีเพิ่มขึ้นทุกขณะ และเชื่อว่าจะถึงจุดรุนแรงที่สุดในห้วงหมดมาตรการห้ามเผา ล่าสุด ที่ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ป่า ทั้งป่าสงวนแห่งชาติ และสวนป่าในโครงการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และการปลูกป่าตามนโยบายของรัฐที่ร่วมมือกับภาคเอกชน  พื้นที่ป่าเหล่านี้ยังไม่สามารถควบคุมไฟป่าได้

นายสิริชัย  โตสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านเป่าปม-ดงยาง หมู่ที่ 7 ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ กล่าวว่า  เรื่องนี้ต้องขอชื่นชมนโยบายและแนวทางแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าของทางจังหวัดแพร่ที่มีมาตรการมุ่งเน้นให้หมอกควัน PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนลดลง และมีมาตรการ มีคำสั่งการ ไปยังทุกพื้นที่ ในขณะเดียวกันภาคประชาชนในชุมชนต่างๆโดยเฉพาะกรรมการป่าชุมชนและชาวบ้านที่พร้อมจะเข้าร่วมตามแผนของทางราชการแต่ปรากฏว่ามีข้อจำกัดมากมายที่ทำให้แผนการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าของจังหวัดแพร่เดินไปไม่ถึงเป้าหมาย อุปสรรคที่ทางราชการควรมองและนำไปสู่การแก้ไขโดยเร่งด่วนคือ 1.ความล่าช้าของงบประมาณ  ปัจจุบันงบแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าถูกถ่ายโอนจากป่าไม้ลงมายังท้องถิ่นซึ่ง ณ ปัจจุบันยังคงล่าช้า ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถออกปฏิบัติการได้และถ้าเนิ่นนานไปจะถึงฤดูเพาะปลูก ชาวบ้านที่จะทำงานดับไฟป่าจะต้องหันไปทำงานในภาคเกษตรของตนเอง   2.ขาดความร่วมมือของชุมชนข้างเคียง การทำงานไม่มีการประสานงานระหว่างชุมชนทำให้ชุมชนที่มุ่งแก้ไขปัญหาต้องทำงานหนักในขณะที่บางชุมชนผู้นำไม่มีความรับผิดชอบ   ชุมชน ผู้นำชุมชน  ขาดความจริงใจตั้งใจในการป้องกันไฟป่า 4.มาตรการชิงเผาก่อนห้ามเผาในพื้นที่ดูแลของทางราชการ   พื้นที่ป่าในความรับผิดชอบของทางราชการใช้วิธีการชิงเผาเปิดพื้นที่ทำแนวกันไฟด้วยการเผาเศษใบไม้ในเขตแนวกันไฟแล้วลุกลามไปยังป่าธรรมชาติจนไม่สามารถดับได้ 5.วิธีการดับไฟป่า ที่ชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ และอุปกรณ์การดับไฟ ไม่เพียงพอ ในนามภาคประชาชนที่ให้ความสนใจการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าขอเรียกร้องให้ทางราชการเร่งดำเนินการมากกว่าการปล่อยปละละเลย

สถานการณ์เช่นนี้ ยังคงดำรงอยู่ต่อไป และในที่สุดการแก้ไขปัญหาหมอกควันฝุ่นละออง PM 2.5 ยังคงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวมต่อไป ซึ่งเครือข่ายป่าชุมชนและกลุ่มคนที่ให้ความสนใจเรื่องการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่ายังคงต้องการการรับฟังของทางราชการเพื่อแลกเปลี่ยนสภาพปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขร่วมกัน

ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่

[dsm_icon_divider use_icon=”on” font_icon=”||divi||400″ use_icon_font_size=”on” icon_font_size=”25px” divider_style=”dashed” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” module_alignment=”center” global_colors_info=”{}”][/dsm_icon_divider]
[dsm_blog_carousel posts_number=”20″ posts_offset=”1″ include_categories=”3,5,4″ use_date=”off” use_category=”on” use_author=”off” use_readmore=”on” readmore_text=”อ่านเพิ่ม…” post_equal_height=”on” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” title_font_size=”25px” min_height=”482px” custom_margin=”||639px||false|false” custom_padding=”||340px|||” global_colors_info=”{}”][/dsm_blog_carousel]