ที่อำเภอดอนตูม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวิธีการปั้นเตาอั้งโล่ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านได้รับการยอมรับเป็นสิ้นค้าโอทอปในชุมชนตำบลลำเหยมีประชากรในชุมชนที่ประกอบอาชีพปั้นเตาอั้งโล่มากกว่า เกือบ 50 โรงนับว่าเป็นหมู่บ้านที่ประกอบอาชีพการทำเตามากที่สุดเลยก็ว่าได้สร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว

จากนั้นทางด้านผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปพบกับนายณัฐวุฒิ นวมมา อายุ 41 ปีอยู่พื้นที่ม.12 ต.ลำเหย อ.ดอนตูม จ.นครปฐมซึ่งทกับภรรยาและลูกๆเเป็นแบบครอบครัวที่สืบทอดกันมารุ่นพ่อ-แม่ จนมาถึงรุ่นลูก-หลาน นายณัฐวุฒิ ยังบอกอีกว่าในการเลือกซื้อดินที่จะนำมาปั้นเตานั้นต้องเป็นดินหน้า 2 และเป็นดินทุ่งนาและเตรียมขี้เถ่าแกลบ จากนั้นก็ทำการตักดินมาแช่นนำ้ในที่จัดเตรียมเอาไว้ประมาณ 10-12 ชั่วโมงเพื่อทำให้ดินอ่อนตัวลงไม่เป็นก้อนและตักดินใส่ในเครื่องปั่นดินพร้อมใส่ขี้เถ่าแกลบลงไปพร้อมๆกันให้ผสมผสานเนื้อดินและเถ่าแกลบเข้ากันเมื่อผสมดินได้ที่แล้วดินจะใหลออกมาจากด้านล่างและก็ยกดินมากองเอาไว้ที่พักดินเอาไว้จากนั้นได้จัดเตรียมอุปกรณ์เก้าอี้หมุนและโต๊ะมาวางพร้อมแบบเตาและยกดินขึ้นมานำดินประกบใส่แบบและทำการกระจายดินปั้นตามแบบเสริมขอบขึ้นรูปเตาในการขึ้นแบบเตาอั้งโล่ 1 ลูกใช้เวลาประมาณ 2-3 นาทีจากนั้นก็นำเตาที่ปั้นเสร็จนำมาคว่ำเอาไว้เพื่อให้เตาที่ปั้นมาใหม่ๆได้แข็งตัวและก็จำทำการหงายเตาขึ้นมา ต่อมาต้องนำเตาที่ปั้นเสร็จและแข็งตัวนำมาตัดแต่งเตา พร้อมทั้งนำไปตากแดดเป็นเวลา 2 วันเสร็จแล้วนำมาชุปสีแดงสีที่ใช้ก็จะเป็นดินแดงผสมน้ำหรือเป็นหินกรวดลูกรังสีแดงเพราะจะทนทานสีไม่ชีดและจาง ถ้าใส่สีมาทาเวลาเผาสีจะชีดจาง นำมาตั้งวางจำหน่ายเป็นเตาดิบ รอพ่อค้ามาชื้อไปประกอบเป็นเตาอั้งโล่ต่อไป

จากนั้นนายณัฐวุฒิ บอกอีกว่าในการปั้นเตาเราสั่งชื้อดินมา 1 คันรถบรรทุกสิบล้อจะปั้นเตาคละไซร้ได้ประมาณ 2,000 ลูกเตาที่ปั้นจะมีดวยก้น 1-2-3-4 ไซร้ ขนาดที่ขายดีก็จะเป็นขนาดไซร้ 2-3  ซึ่งวันหนึ่งตนเองปั้นเตาดิบได้วันละประมาณ 100 ลูกต่อวันตนเองทำปั้นเตามา 20 กว่าปีแล้วสืบทอดต่อกันมารุ่นพ่อ-แม่ตนเองเกิดมาก็เห็นเตาแล้วซึ่งเตาที่ทางเราปั้นพร้อมตัดแต่งพร้อมขายเลยลูกหนึ่งราคา 15 บาทคละไซร้ซึ่งตนเองทำกันในครอบครัวเป็นอาชีพที่สืบทอดกันมาเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านโดยแท้จริง

ภาพ-ข่าว THAIREFERENCE จ.นครปฐม