ที่วิสาหกิจชุมชนวิถีผึ้งสกลนคร บ้านนาดอกไม้ ตำบลฮางโฮง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร นายชัยภัทร ฉอุ่มประโคน (อ.ยุ่น) ประธานกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนวิถีผึ้งสกลนคร พร้อมด้วยนายเฉลิมศักดิ์ พูลเพิ่ม (อ.แทน) ,  นายเรือง เซ็นนิล (อ.เรือง) อดีตข้าราชการบำนาญเห็นความสำคัญของผึ้ง จึงได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับผึ้ง ซึ่งมีมาแต่โบราณไม่ให้สูญหาย โดยจะกลับมาฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ด้วยการขยายเครือข่ายออกไปทั้ง 18 อำเภอ ที่ไหนมีป่ามีต้นยางพารา สามารถที่จะนำผึ้งไปเลี้ยงเพื่อการค้าได้ ซึ่งนายชัยภัทร ฉอุ่มประโคน (อ.ยุ่น) กล่าวว่า นี่คือหลุ่มเลี้ยงผึ้งมีแนวคิดที่จะให้ จ.สกลนคร เป็นเมืองแห่งผึ้งอีกครั้งหนึ่ง โดยจะเป็นไปได้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งประชาชนและหน่วยงานราชการ ก่อนนี้ผึ้งเป็นสิ่งจำเป็นโดยนำไปถวายพระ แต่ปัจจุบันนี้ผึ้งได้สูญหายไปหมด หากเราทำสำเร็จสกลนครก็จะกลับมาเป็นเมืองแห่งผึ้งอีกครั้ง ขณะนี้ได้นำกล่องผึ้งไปวางไว้ใน 18 อำเภอ เพื่อกระตุ้นให้ชาวสกลนครกลับมาเลี้ยงผึ้งและเห็นประโยชน์ของผึ้งว่ามีมากมายจริงๆ

ขณะที่ นายเฉลิมศักดิ์ พูลเพิ่ม ที่ปรึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชน วิถีผึ้งป่า สกลนคร หรือ ชาวบ้านเรียกอาจารย์แทน กล่าวว่า ที่เราเห็นบินๆอยู่นี้คือ “ผึ้งโพรง” อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ปัจจุบันเราค้นพบวิธีการเลี้ยงผึ้งได้เองซึ่งเป็นการช่วยกันรักษาระบบนิเวศ ทุกวันนี้วิถีแหล่งที่อยู่อาศัยของผึ้งเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามท่อ ยางรถยนต์ ตุ่มหรือโอ่งน้ำ ในมุมของอาจารย์มองว่าผึ้งพวกนี้ไม่ได้น่ากลัวอะไร ผึ้งช่วยโลกในการผสมเกสรดอกไม้ แหล่งอาหารของผึ้งมีมากมายแต่ที่ผึ้งกลัวคือสารเคมี พวกนี้จะไวต่อกลิ่นสารเคมีเช่นเดียวกับมนุษย์ที่หายใจเข้าไปส่งผลเสียต่อร่างกาย ทั้งนี้ มองว่าหากเรามีผึ้ง 1 รัง เท่ากับว่ามี 1 โรงงาน หรือ 1 บริษัท ขั้นตอนในการเลี้ยงผึ้งโพรงไม่ยุ่งยาก แทบไม่ต้องดูแลอะไรเลย ราคาขายน้ำผึ้งขวดละ 300 – 500 บาท”เราพร้อมที่จะจัดอบรมให้ความรู้เรื่อวการเลี้ยงผึ้งโพรงขึ้นเพื่อขยายเครือข่ายกลุ่มผู้สนใจทั้งกลุ่มเกษตรกร สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้หันมาส่งเสริมการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้จากน้ำผึ้งธรรมชาติ มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงผึ้ง  โดยทางกลุ่มฯยินดีจะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาตั้งแต่การเลี้ยง จนถึงรับซื้อผลผลิต” อาจารย์แทน กล่าว

ด้านนายเรือง  เซ็นนิล   หรืออาจารย์เรือง กล่าวว่า เราพบว่าปัญหาสุขภาพมันเกิดจากอาหารการกิน ส่งผลกับร่างกาย ก็เลยมาศึกษาว่าทำยังไงให้กินอาหารแบบปลอดภัย พอได้มาทำการเกษตรธรรมชาติมาสักระยะหนึ่ง มาสนใจเรื่องผึ้งเราก็เห็นว่าผึ้งเป็นอะไรที่ sensitive กับเคมี มันก็เป็นเครื่องยืนยันว่าถ้าเรามีผึ้งอยู่ในสวนก็จะเป็นระบบเกษตรกรรมแบบธรรมชาติจริงๆ แล้วก็สามารถเอาน้ำผึ้งไปไปใช้ประโยชน์เป็นยาได้ ซึ่งเป็นการต่อยอดอีกทางหนึ่งด้วย  “สำหรับ ผึ้งโพรง เป็นผึ้งที่พบเห็นตามธรรมชาติ สร้างรวงซ้อนกันเป็นขั้น ๆ อยู่ในโพรงไม้ โพรงดิน ชอบสร้างรังในที่มืดมิดชิด แยกรังค่อนข้างบ่อยครั้ง เป็นแมลงที่อยู่เป็นกลุ่มใหญ่ ภายในรังประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้ และผึ้งงาน ซึ่งภายในหนึ่งรังจะมีผึ้งนางพญาหนึ่งตัว ผึ้งตัวผู้หลายร้อยตัว และผึ้งงานเป็นพันตัว         อุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งโพรง ได้แก่ กล่องเลี้ยงผึ้ง(ทำด้วยแผ่นไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม) กล่องขังนางพญา แผ่นรังเทียม ขั้นตอนในการเลี้ยงไม่ยุ่งยาก ได้แก่ เลือกสถานที่สำหรับตั้งรัง หาผึ้งโพรงจากธรรมชาติเพื่อนำมาเลี้ยง การดูแลรักษา หลังจากจับผึ้งโพรงจากธรรมชาติมาเลี้ยงแล้วก็ต้องหมั่นตรวจตราสภาพภายใน สัปดาห์ละ 1 -2 ครั้ง ศัตรูของผึ้งส่วนใหญ่จะเป็น คางคก จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งก่า มด เป็นต้น อันตรายมากก็คือ ยาฆ่าแมลง อาจจะทำให้ผึ้งตายหมด” อาจารย์เรื่อง กล่าว พร้อมสาธิตการย้ายรับผึ้ง ย้ายนางพญา และย้ายผึ้งงานด้วยมือเปล่า ไม่ใช้เครื่องป้องกันแต่อย่างใด เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวห้ามลอกเลียนแบบ

สำหรับผู้ใดสนใจเลี้ยงผึ้งโพรงเป็นอาชีพเสริม สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์   นางสาวกัลปังหา เฟอร์เรีย ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดสกลนคร และหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีผึ้งป่า บ้านนาดอกไม้ ตำบลฮางโฮง อำเภอเมืองสกลนคร

@chaijexu

สกลนคร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาดอกไม้ ตำบลฮางโฮง หวังเปลี่ยนสกลนครเป็นเมืองแห่งผึ้ง

♬ เสียงต้นฉบับ - Chaij Exu - Chaij Exu

ภาพ-ข่าว วัฒนะ แก้วก่า ผู้สื่อข่าว จ.สกลนคร