นายชัยยา  ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พร้อมด้วย สัตวแพทย์หญิง ชนัญยา กาญจนสาขา  สัตวแพทย์ประจำ สำนักบริหารอนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) ลงพื้นที่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขญ.2 ผากระดาษ ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อตรวจอาการ และทำการช่วยเหลือ แม่มะลิกระทิง เพศเมีย อายุประมาณ 18-20 ปี  ตาบอดทั้ง 2 ข้าง  จนลูกตามีสีขาวขุ่นมัวมองไม่เห็น หลังจากออกมาหากินนอกแนวเขต เจ้าหน้าทีรีบช่วยเหลือนำมาดูแลไว้ ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขญ.2 ผากระดาษ ต.หมูสี อ.ปากช่อง ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565  และต่อมาได้ถูกกระทิงป่า เพศผู้ ออกมาชน ขวิดทำร้าย จนมีแผลฉกรรจ์ บริเวณทวารหนัก และต้นขาด้านหลัง และทีม สัตวแพทย์ ได้ทำการผ่าตัดทำแผล พบว่าช่วงลำไส้ใกล้รูทวารหนักช่วยเหลือเพื่อช่วยให้รอดชีวิตไว้ก่อน โดยมอบให้ นายคำมวน ทองแต้ม หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขญ.2 ผากระดาษ ต.หมูสี อ.ปากช่อง และนายประทีป ประจันตเสน เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลกระทิง นำกระทิง ล่ามเชือกปล่อยให้เล็มหญ้าและร้องเรียกให้เดินตามหากินหญ้า

สัตวแพทย์หญิง ชนัญยา กาญจนสาขา  สัตวแพทย์ประจำ สำนักบริหารอนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี)  กล่าวว่า การขับถ่ายลำบาก เนื่องจากไม่ได้ถ่ายออกทางรูทวารหนัก ถ่ายออกทางแผลที่ถูกชนข้างรูทวารหนัก ท้องพยายามใช้น้ำฉีดตรงแผลเพื่อให้ถ่ายออกมา และต้องดูแลแผลไม่ให้ติดเชื้อ ตลอดทุกวัน เพราะในช่วงกระทิงถูกชนบาดเจ็บมีแผลมาก ให้ยาซึมนานหลายชั่วโมง เกรงว่ากระทิงจะได้รับอันตราย และจะหาวิธีช่วยต่อไป

นายชัยยา  ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่เชื่อว่า เป็นกระทิงแม่มะลิ ตัวนี้ชาวบ้านนำมาให้เลี้ยงตั้งแต่เล็ก และพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด เป็นผู้อุปถัมภ์ เมื่อประมาณ 20 ปี ก่อน จนโตและได้ผสมพันธุ์กับกระทิงป่า ได้ลูกออกมา หลวงพ่อคูณตั้งชื่อว่า เจ้าทองแดง จากนั้นเมื่อทองแดงโตขึ้น และหลวงพ่อคูณได้ มรณภาพ แม่มะลิพาลูกทองแดงเข้าป่าหายไป

จนมีชาวบ้านพบเดินออกจากแนวเขตอุทยานฯเขาใหญ่ สภาพตาบอด 2 ข้าง และมีสภาพร่างกายผอมโซ จึงเชื่อว่าเป็นกระทิงป่าแม่มะลิ อย่างแน่นอนเพราะมีความเชื่องไว

ภาพ-ข่าว ปัญญา ปากช่อง