นายวิชาญ แท่นหิน ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 7 สกลนคร  กล่าวว่า จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันมีปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานประมาณ ร้อยละ 60  เพื่อเป็นการรับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้น   ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 7 สกลนคร   ได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำระยะไกล 3 กิโลเมตร  เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว  จำนวน 6 ชุด   เครื่องสูบระยะไกล 20 นิ้ว  อัตราการสูบ 38,000 ลิตรต่อนาที  สามารถสูบส่งน้ำได้ 10 กิโลเมตร ไว้ให้การสนับสนุน   พร้อมช่วยเหลือประชาชน   ซึ่งเป็นไปตามข้อสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร โดยไม่ให้พี่น้องประชาชนขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งนี้   

นอกจากภัยแล้งแล้ว  ยังมีพายุฤดูร้อน  ทางศูนย์ฯ ก็ได้เฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง  โดยจากสถิติภาพรวมทั้ง 18 อำเภอ ของ จ.สกลนคร จะได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน  1,800-2,500 หลังคาเรือนต่อปี   เมื่อเกิดเหตุประชาชน สามารถโทรขอรับการช่วยเหลือได้ที่สายด่วน  1784    พร้อมแนะให้ประชาชนเตรียมความพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนซึ่งจะมีลมกระโชกแรง  โดยการตรวจเช็คสภาพบ้านเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง  สำหรับต้นไม้ที่อยู่รอบบ้านเรือนควรตัดแต่งกิ่ง เพื่อความปลอดภัย 

อย่างไรก็ดี  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  กระทรวงมหาดไทย  ก็ได้แจ้งเตือนใ  อาจเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง  และมีลมกระโชกแรง จึงฝากเตือนพี่น้องประชาชนได้เตรียมความพร้อมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว  รวมถึงระมัดระวังเกี่ยวกับเหตุฟ้าผ่า ควรปิดโทรศัพท์มือถือ และไม่อยู่ใต้ต้นไม้สูง   ซึ่งอาจจะเป็นสื่อนำฟ้าผ่าได้  

ภาพ-ข่าว  วัฒนะ แก้วก่า / สกลนคร