ที่บ้านหัวหิน ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง อุทยานแห่งชาติ หาดเจ้าไหม เปิดเวทีชาวบ้านให้ตัวแทนประมงพื้นบ้าน 3 ตำบล คือ ต.ไม้ฝาด ต.บ่อหินและ ต.เขาไม้แก้ว กว่า 100คน มาพูดคุยสะท้อนปัญหาในการประกอบอาชีพประมงที่เข้าไปทำการจับสัตว์น้ำในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมหรือบริเวณชายขอบอุทยานฯที่ผ่านมาก็จะมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ในการถูก ผลักดัน ขับไล่ ไม่ให้เข้ามาทำการประมง บางครั้งถูกจับกุม ดำเนินคดี ดังนั้นการเปิดเวทีในวันนี้ตัวแทนชาวประมง 3 ตำบลกว่า 3,000 ลำที่ต้องทำการประมงหาเลี้ยงชีพและครอบครัวได้สะท้อนปัญหา เช่น 1.ชาวประมงไปจอดเรือเพื่อรอเวลาทำการประมงในเขตอุทยานฯไม่ได้ 2.ไม่ทราบแนวเขตที่ชัดเจนของอุทยานฯ 3.จะถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ขับไล่ไม่ให้ทำการประมงตลอด

 โดยที่นายพริษฐ์ นราสฤกษฎ์กุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ก็ได้มาวางแนวทางไว้ 1.พื้นที่จุดจอดเรือที่รอทำการประมงที่ชัดเจน 2.พื้นที่อนุรักษ์ฯ พื้นที่หวงห้ามทำการประมง 3.พื้นที่ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และ 4.พื้นที่บริการท่องเที่ยว ทำให้ชาวประมงพึ่งพอใจในการแก้ปัญหา มีข้อตกลงชาวประมงฯทุกคนต้องไม่ทำผิดข้อตกลง มาตรการที่วางไว้ หากฝ่าฝืนก็ถูกดำเนินคดี ซึ่งตัวแทนชาวประมงก็พึ่งพอใจ ชาวประมงบอกว่าตั้งแต่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติท่านนี้มาอยู่เข้าใจวิถีชีวิตชาวบ้าน ชาวประมงเป็นอย่างดี ลบคำพูดที่ชาวประมงพื้นที่มักพูดกันเสมอมาคือ “เจ้าหน้าที่รังแกชาวบ้าน” แต่ 10 เดือนที่มาดำรงตำแหน่งที่นี่ชาวประมงมีทัศนคติที่ดีกับ หัวหน้า เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ทุกคน พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมทุกเรื่อง ชาวบ้านพึงพอใจเป็นอย่างมากกับการทำงานของหัวหน้าอุทยานฯท่านนี้ แต่มีเรื่องหนึ่งที่ชาวบ้านประมงพื้นบ้าน 3 ตำบลกว่า 3,000 ลำ หวั่นไหว อนาคตไม่มั่นคงหรือถูกจนท.รังแกอีกเมื่อทราบว่านายพริษฐ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมจะถูกย้ายออกจากพื้นที่เร็ว ๆ นี้ ทั้งที่ทำงานได้แค่ 10 เดือน จึงเรียกร้องผ่านสื่อไปถึง รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวง อธิบดี และ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง อย่าเพิ่งย้ายหัวหน้านายพริษฐ์ เพราะหัวหน้าท่านนี่เข้าใจชาวประมงพื้นบ้าน แก้ปัญหาให้ชาวประมงฯ วางมาตรการ กฎระเบียนให้ชาวประมงพื้นบ้านประกอบอาชีพอย่างสบายใจ ไม่ถูกจับกุมเหมือนที่ผ่านมา จึงเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้หัวหน้าอุทยานฯท่านนี่ด้วย อีกทั้งเป็นการช่วยชาวประมงพื้นบ้านอีกทางหนึ่ง เพราะตั้งแต่หัวหน้าท่านนี่มาอยู่ชาวบ้านที่ทำการประมงฯ ไม่ถูก ข่มขู่ ขับไล่หรือจับกุม ดังนั้นอย่าเพิ่งย้ายคนดีของชาวบ้านออกจากพื้นที่จังหวัดตรังให้หัวหน้าฯทำงานให้เพื่อประชาชนและประเทศชาติก่อน

นายเกษม บุญญา ประธานประมงพื้นบ้านอำเภอสิเกา จ.ตรัง บอกว่า ต้องขอบคุณหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นอันมากที่มารับฟังปัญหาของชาวประมงพื้นบ้าน 3 ตำบล ต.ไม้ฝาด ต.บ่อหิน และ ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา มีประชาชนประกอบอาชีพอยู่ 3,000 กว่าลำ ที่ผ่านมาผลกระทบมากมายในการบังคับใช้กฎหมาย และเมื่อหัวหน้าฯท่านนี่มาอยู่ก็เข้ามาแก้ปัญหามาตลอดจนวันนี้ มีการวางกรอบในการทำงานของอุทยานและกติกาการอยู่ร่วมกันกับชาวประมงพื้นบ้าน ชาวบ้านพึงพอใจ เข้าใจ สบายใจเป็นอันมาก ในการพูดคุยร่วมกันในวันนี้ แต่ทราบว่า ผู้บังคับบัญชาจะย้ายหัวหน้าอุทยานท่านนี่ออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวประมงทั้งอำเภอสิเกา ส่งตัวแทนมาให้กำลังใจหัวหน้าและเรียกร้องให้ทบทวนคำสั่งย้ายหัวหน้าหัวหน้าพริษฐ์ นราสฤกษฎ์กุล ออกไปก่อน เพราะท่านไม่ได้ทำผิดอะไรเพิ่งมาทำงานแค่ 10เดือนกำลังแก้ปัญหาให้ชาวประมงพื้นที่ทุกคน สามารถทำการประมงอย่างถูกกฎหมายได้ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ครอบครัว อ.สิเกา และกันตัง                 

สุดท้ายชาวประมงพื้นบ้าน บอกว่า การวางมาตรการของหัวหน้าอุทยานฯท่านนี้ เข้าใจ วิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านอย่างแท้จริง เข้ามาวางกติกาให้ชาวบ้านสามารถทำการประมงอย่างถูกกฎหมายชาวประมงทุกคนมีวามสุขในการประกอบอาชีพ แต่มีข่าวออกมาว่า หัวหน้าอุทยานฯ ท่านนี้ กำลังจะถูกย้ายออกจากอุทยานฯหาดเจ้าไหมเช่นนี้ ชาวประมงไม่ยอม ขอให้ทบทวนคำสั่งใหม่ เพราะท่านเป็นคนดีมาแก้ปัญหาให้ชาวประมง ชาวบ้านอย่างแท้จริง ให้เก็บข้าราชการที่ดี คนดี ๆ อยู่ทำงานให้คนตรัง

นายพริษฐ์ นราสฤกษฎ์กุล หัวหน้าอุทยานแห่งชิหาดเจ้าไหม เปิดเผยว่า วันนี้เป็นเวทีชาวบ้านที่ นายก.อบต.บ่อหิน และแกนนำชาวประมงพื้นบ้าน อ.สิเกา ได้เปิดเวทีพูดคุยกับทางอุทยานฯเพราะที่ผ่านมานั้นมีบ้างที่เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ปฏิบัติหน้าที่ เหมือนมีกำแพงกั้นอยู่ไม่อาจที่จะสื่อสารกันได้ วันนี้เรามีพูดคุย วางกติการ่วมกันให้ชาวประมงทำการประมงอย่างมีความสุขในการประกอบอาชีพประมง โดยไม่ทำผิดกฎหมาย หรือระเบียบของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตนเองมารับฟังปัญหาต่าง ๆของชุมชนมาตลอด วางกติกาอยู่ร่วมกันให้ชาวประมงอยู่ร่วมกับเราอย่างปกติสุข ในฐานะหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม พร้อมรับฟัง “ผมไม่มีห้องทำงาน ไม่นั่งทำงานก้องติดแอร์ ห้องทำงานของผมคือพื้นที่อุทยานฯทั้งหมด ประชาชนและชาวบ้านคือเพื่อนที่มาร่วมทำงานกับผม” ผมน้อมรับปัญหาทั้งหมดไปแก้ไข ส่วนปัญหาชาวบ้านเข้าไปเก็บ เห็ด หรือพืชที่เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติได้นั้น มีการประกาศกฎหมายของกรมอุทยานฯ ในเขตอุทยานไว้ อุทยานฯสามารถจัดพื้นที่บริหารจัดการพืชที่ดังกล่าวให้ชาวบ้านเข้าไปเก็บตามฤดูกาลได้

ภาพ-ข่าว ตรัง สุนิภา หนองตรุด