วันนี้ 7 ก.พ.66 ที่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดยะลา ศาลากลางจังหวัดยะลา เขตเทศบาลนครยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ผู้สื่อข่าว ได้รับรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดยะลา ได้ออกหนังสือประกาศ เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของจังหวัดยะลาสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชนอณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่1) พุทธศักราช 2564 โดยประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม 2566

ทั้งนี้ โดยใช้อำนาจตามข้อ 3 ของการประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องรูปแบบการแบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดยะลา พร้อมรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดยะลา

“พรรคการเมืองใดหรือประชาชนผู้ใด มีข้อคิดเห็นหรือข้อที่จะเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการแบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดยะลา ให้แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดยะลา ภายในระยะเวลา 10 วันนับตั้งแต่วันปิดประกาศ และไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยส่งความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเป็นหนังสือ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยะลา อาคาร 1 ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัด ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000 หรือโทรศัพท์ 073-222-978 “

ซึ่งทาง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยะลา ได้ออกรูปแบบการแบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดยะลาแบบแบ่งเขต โดยยึดเฉลี่ยจำนวนราษฎร 181,971 คน ต่อ ผู้แทนราษฏร จำนวน 1 คน ซึ่งมีจำนวนราษฎรในจังหวัดยะลา ทั้งหมด 545,913 คน โดยแบ่งดังนี้

รูปแบบ ก. เขตเลือกตั้งที่ 1. พื้นที่ประกอบด้วย อำเภอเมืองยะลา (ทั้งหมด) จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง รวม 173,652 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ในจังหวัดยะลา คิดเป็น -8,319 คน คิดเป็นร้อยละ -4.57 %

เขตเลือกตั้งที่ 2 พื้นที่ประกอบด้วย 1.อำเภอรามัน อำเภอยะหา (ยกเว้นตำบลบาโร๊ะ และตำบลปะแต) 2.อำเภอกาบัง 3.อำเภอกรงปินัง จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง รวม 194,540 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ในจังหวัดยะลา คิดเป็น 12,569 คนคิดเป็นร้อยละ 6.91 %

เขตเลือกตั้งที่ 3 พื้นที่ประกอบด้วย 1.อำเภอยะหา (เฉพาะตำบลบาโร๊ะ และตำบลปะแต) 2.อำเภอบันนังสตา 3.อำเภอธารโต 4.อำเภอเบตง จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง รวม 177,721 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ในจังหวัดยะลา คิดเป็น -4,250 คน คิดเป็นร้อยละ -2.34 %

รูปแบบ ข.เขตเลือกตั้งที่ 1.  พื้นที่ประกอบด้วย 1.อำเภอเมือง 2.อำเภอรามัน (เฉพาะตำบลวังพญา) จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง รวม 181,551 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ในจังหวัดยะลา คิดเป็น -420 คน คิดเป็นร้อยละ -0.23 %

เขตเลือกตั้งที่ 2 พื้นที่ประกอบด้วย 1.อำเภอรามัน (ยกเว้นตำบลวังพญา) 2.อำเภอยะหา (ยกเว้น ตำบลบาโร๊ะ ตำบลปะแต) 3.อำเภอกาบัง อำเภอกรงปีนัง  จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง รวม 1186,641 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ในจังหวัดยะลา คิดเป็น 4,670 คนคิดเป็นร้อยละ 2.57 %

เขตเลือกตั้งที่ 3 พื้นที่ประกอบด้วย 1.อำเภอยะหา (เฉพาะตำบลบาโระ ตำบลปะแต) 2.อำเภอบันนังสตา 3.อำเภอธารโต 4.อำเภอเบตง จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง รวม 177,721 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ในจังหวัดยะลา คิดเป็น -4,250 คน คิดเป็นร้อยละ -2.33 %

รูปแบบ ค. เขตเลือกตั้งที่ 1 พื้นที่ประกอบด้วย 1.อำเภอเมือง (ยกเว้นตำบลบุดีตำบลเปาะเส้ง ตำบลบันังสาเรง) 2.อำเภอยะหา (เฉพาะ ตำบลยะหาตำบลตาชี ตำบลบาโงซิแน) จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง รวม 173,895 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ในจังหวัดยะลา คิดเป็น -8,076 คน คิดเป็นร้อยละ -4.44 %

เขตเลือกตั้งที่ 2 พื้นที่ประกอบด้วย 1.อำเภอเมืองยะลา (เฉพาะ ตำบลบุดี ตำบลเปาะเส้ง ตำบลนันนังสาเรง) 2.อำเภอยะหา (เฉพาะ ตำบลตาชี ตำบลบาโงซิแน) 3.อำเภอรามัน 3.อำเภอกาบัง จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง รวม 188,843 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ในจังหวัดยะลา คิดเป็น 6,872 คน คิดเป็นร้อยละ 3.78 %

เขตเลือกตั้งที่ 3 พื้นที่ประกอบด้วย 1.อำเภอกรงปินัง 2.อำเภอบันนังสตา 3.อำเภอธารโต 4.อำเภอเบตง  จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง รวม 183,175 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ในจังหวัดยะลา คิดเป็น 1,204 คน คิดเป็นร้อยละ 0.66 %

ทางด้าน ร.ต.อ.สมนึก กุลมณี ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดยะลา (ผอ.กกต.ยะลา) กล่าวว่า สำหรับจังหวัดยะลา ในครั้งนี้ได้มีการการจัดทำรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ได้นำรูปแบบเดิมมาใช้ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 มาใช้ในการรับความคิดเห็นของประชาชนด้วย ซึ่งรูปแบบเดิมตอนปี 62 รูปแบบนั้นมีการแบ่งอำเภอเมืองออกไปให้เขต 2 , 3 ตำบล ไปแบ่งมาจากยะหาอีก 3 ตำบล ตัวเลขยังถือว่าใกล้เคียงอยู่ พอมาทำรูปแบบเพิ่มมาพิจารณาดูตามหลักของการแบ่งเขต จะพยายามแบ่งอำเภอให้น้อยที่สุดเพื่อให้เกิดความสะดวกในการรักษาความปลอดภัย เรื่องของการบริหารจัดการ ตัวเลขของอำเภอเมือง พอที่จะเป็น 1 เขต อำเภอรามัน อำเภอยะหา อำเภอกาบัง ของเขต 2 ตัวเลขยังน้อย อำเภอกรงปินังจากเขต 3 มาเป็นตัวเชื่อมระหว่างรามันกับยะหา ในส่วนของเขต 3 จะเหลือ อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต และ อำเภอเบตง ตัวเลขจะน้อยทันที มาดูที่ของอำเภอยะหา ตัดปะแต กับ บาโร๊ะ ตัวเลขยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงอยู่ ทั้งนี้ทั้งนั้นในตอนนี้อยู่ในส่วนของรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและพรรคการเมืองซึ่งจะรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 4-13 หลังจากนั้นจะรวบรวมความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 14-15-16 เรียงลำดับแล้วส่งไปให้คณะกรรมกรการเลือกตั้งพิจารณาประกาศเป็นเขตเลือกตั้ง

ภาพ-ข่าว อะหมัด/มาวันดี/ยะลา