นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  เป็นประธาน เปิดคลินิกหมอครอบครัวหนองกะจะ นายศักดิ์ สยาม ชิดชอบ รมต.ว่าการกระทรวงคมนาคม นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมต.ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. และรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายแพทย์ภูวเดช สุระโคตร ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 9 นพ.สุผล ตติยะนันทพร นพ.สสจ.นม. นพ.สมศักดิ์ ประฏิภาณวัตร ผอ.รพ.ปากช่องนานา หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม.ร่วมให้การต้อนรับ

ซึ่งในเขตอำเภอปากช่องมีหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพของประชาชนประกอบด้วย รพ.สต.19 แห่ง และคลินิกหมอครอบครัว 4 แห่งครอบคลุมทุกพื้นที่ในอำเภอปากช่อง และเขตสุขภาพที่ 9ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมาผลักดัน และสนับสนุนพัฒนาคลินิกหมอครอบครัวหนองกะจะ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และต่อเนื่อง ทำให้สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทั้งทางด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านป้องกันโรค ด้านการรักษา และด้านการฟื้นฟูสภาพ ภายใต้แนวคิดการทำงานที่ให้บริการทุกคน ทุกอย่าง ทุกที่ ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยี จนสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการและสร้างความศรัทธาให้กับประชาชนในพื้นที่ ถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดูแลความเจ็บป่วยในรูปแบบบริการที่เป็นองค์รวม ครอบคลุมมิติสุขภาพเชื่อมโยงด้วยระบบส่งต่อ ระบบให้คำปรึกษา รักษาพยาบาล ระบบยาและเวชภัณฑ์ ภายใต้มาตรฐานเดียวกันกับโรงพยาบาล เพื่อลดป่วย ลดตาย ลดแออัด และลดการรอคอย โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง  

จากนั้น ได้เปิดศูนย์เคมีบำบัด โรงพยาบาลปากช่องนานา ซึ่งได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานการพัฒนา Service Plan สาขามะเร็ง และได้กำหนดวางแนวทางในการลดระยะเวลารอคอยการผ่าตัดภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์  การรักษาด้วยเคมีบำบัดภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์  และการรักษาด้วยรังสีรักษาภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ให้เกิดขึ้นในภายในเขตสุขภาพที่ 9 รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพให้โรงพยาบาลปากช่องนานาเป็นศูนย์ให้บริการเคมีบำบัดได้เอง เพื่อลดระยะเวลาให้เคมีบำบัดให้ได้ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ 

โดยระยะแรกได้มีการให้บริการเคมีบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมของผู้ป่วยในอำเภอปากช่อง ในรูปแบบที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นผู้สนับสนุนการเตรียมยาเคมีและให้ และทางโรงพยาบาลปากช่องนานาจัดระบบ Logistic ไปรับมาให้บริการที่โรงพยาบาลปากช่องนานา ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่ปี งบประมาณ 2560 จนถึงปัจจุบัน สามารถให้เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไปแล้ว..385…ครั้ง จำนวน..73 ราย  และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ ความสะดวก รวดเร็วในการรับบริการของผู้ป่วย และได้มีการวางแผนการให้เคมีบำบัดในผู้ป่วยชนิดอื่นเพิ่มเติม โดยขณะนี้โรงพยาบาลสามารถผสมยาเคมีได้เองในศูนย์เคมีบำบัด ซึ่งเป็นตามแผนพัฒนาของเขตสุขภาพที่ 9 ส่งผลให้การเข้าถึงบริการผู้ป่วยในผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มมากขึ้นและผู้ป่วยได้รับบริการอย่างรวดเร็ว ตลอดจนสามารถลดการส่งต่อ และลดระยะเวลารอคอยในการรับบริการที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา

ภาพ-ข่าว ปัญญา ปากช่อง