ที่ บริเวณลานจำหน่ายสินค้า Top Supermarket ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี สำงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี จัดกิจกรรมเชื่อมโยงตลาด “กระท้อน GI ลพบุรีจากสวนสู่ห้าง” เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่เกษตรกร และช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก โดยมี นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรม  ซึ่งมีภาคเอชน Central Food Retail มาช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้พี่น้องเกษตรกร โดยส่งไปจำน่ายในสาขาต่างๆ ทั้ง Top Supermarket ตลาดจริงใจ และ Central Food Hall กว่า 60 สาขา ทั่วประเทศ ไปจนกว่าจะหมดฤดูกาล

โดยที่ผ่านมามี ยังได้มีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ โดยไลฟ์สดจากสวนของเกษตรกรผ่าน Facebook สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม ถึงปัจจุบัน จำนวน 8 ครั้ง มีปริมาณการสั่งซื้อกว่า 5.6 ตัน มูลค่าจำหน่ายกว่า 387,000 บาท โดยกรมการค้าภายใน สนับสนุนกล่องบรรจุผลไม้และไปรษณีย์ไทยได้สนับสนุนค่าขนส่ง นอกจากนี้ยังมี การเชื่อมโยงตลาด กับภาครัฐและเอกชน จำนวนหลายราย ปริมาณรวมทั้งสิ้น 10.8 ตัน มูลค่าการจำหน่ายรวม 700,625 บาท

สำหรับ กระท้อนตะลุง GI ลพบุรี ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เมื่อ 25 มิถุนายน 2562 เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดลพบุรี ที่สร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับจังหวัดลพบุรี โดยมีลักษณะเด่น “ผลกลมแป้น เปลือกบาง รสหวาน เนื้อปุย  หวานสะดุ้ง กระท้อนตะลุงลพบุรี ” โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลตะลุง ตำบลงิ้วราย และตำบลโพธิ์เก้าต้น ซึ่งเป็นพื้นที่ “น้ำไหลทรายมูล” เป็นภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการผลิตกระท้อนคุณภาพดี อำเภอเมืองลพบุรี มีเกษตรกรผู้ปลูกกระท้อน จำนวนมาก พื้นที่เพาะปลูก จำนวนกว่า 281 ไร่ จำนวนที่ปลูก 6,710 ต้น ผลผลิตประมาณ 700 ตัน โดยพันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ พันธุ์ปุ้ยฝ้าย พันธุ์อีล่า พันธุ์ทับทิม พันธุ์นิ่มนวล และพันธุ์กำมะหยี่

นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า นอกจากกระท้อน GI แล้ว ยังมีสวนกระท้อนอื่นๆ ที่ปลูกกระท้อนในจังหวัดลพบุรี อีก รวมประมาณ 400 กว่าราย คาดการณ์ไว้ปีนี้ ผลผลิตทั้งหมดประมาณ 1,000,000 กิโลกรัม จะมีรายได้มากกว่า 100,000,000 บาท โดยเฉพาะในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม กระท้อนลพบุรี ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก เป็นกระท้อนที่มีคุณภาพดี รสชาติหวาน และปลอดสาร โดยมีเกษตรจังหวัดลพบุรีและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี เข้าไปควบคุมคุณภาพ เป็นอย่างดี อีกด้วย

 นอกจาก นี้ ยังได้มีการ พื้นที่ “ตลาดจริงใจ” เพื่อให้เกษตรกรนำผลผลิตต่างๆ จากสวน ซึ่งนอกจาก กระท้อนแล้ว ยังมีทั้ง พื้นสวนพื้นไร่ ปลอดสารพิษ 100 % มาว่างจำหน่ายควบคู่กับกระท้อน ด้วย อาทิ  มะละกอ มะม่วง กล้วยห้อม ถั่วงอกรักชาติ ข้าวโพดกินสด มะนาว ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า มะเขือเทศ  มะเขือยาว ต้นหอม ผักชีพริกขี้หนูสวน พริกหยวก  ผักบุ้ง ไหลบัว และอื่นให้เลือกซื้อ อีกมากมาย ซึ่งสิ้นค้าทั้งหมดจะเลือกใช้วัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ มาเป็นบรรจุภัณฑ์ให้กับสินค้าตามความเหมาะสมของสินค้าในแต่ละชนิด เพื่อให้เกิดความสวยงามดูดี และเพื่อลดการใช้กล่องโฟม หรือถุงพาสติก อีกด้วย

 ขณะที่ นางสาวสนิตตา หลิมจานนท์ อายุ 25 ปี เกษตรกรชาวสวนกระท้อน ลพบุรี กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจ และดีใจมาก เพราะถือเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่สามารถทำให้เกษตรกร มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าของตนเองได้เพิ่มขึ้น และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งในปีนี้ผลผลผลิตค่อนข้างเยอะ ขณะที่ ศูนย์ที่จะกระจ่ายผลไม้ค่อนข้างมีจำกัดจากทุกๆ ปีที่ผ่านๆ มา แต่เมื่อสินค้าได้ขึ้นห้าง ทำให้คนได้รู้จัก กระท้อนลพบุรี มากขึ้น ทำให้ผลไม้ของชาวสวน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

สมชาย เกตุฉาย –  ลพบุรี  /  รายงาน