27.1 C
Bangkok
วันพุธ, ธันวาคม 6, 2023
ตลาดเลหลัง
หน้าแรก คอลัมน์ ตกผลึก กับ นพ.ประเวศ วะสี

ตกผลึก กับ นพ.ประเวศ วะสี

คณะกรรมการอิสระที่ควรตั้ง คณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ

ที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่รู้จักใช้ประโยชน์จาก “คณะกรรมการอิสระ” และไม่เข้าใจหลักการของคณะกรรมการอิสระหลักการ นายกรัฐมนตรีแสวงหาคนที่มีปัญญาบารมีสูงสุดในเรื่องนั้นๆ ที่ยอมรับเป็นประธาน และให้ท่านตัดสินใจเลือกผู้ที่เหมาะสมที่สุดมาร่วมเป็นกรรมการ โดยรัฐบาลไม่ยุ่งเกี่ยวในการเสนอชื่อกรรมการใดๆ หรือวิธีทำงานของคณะกรรมการ แต่คอยอำนวยความสะดวกในการทำงานของคณะกรรมการด้วยประการทั้งปวง และรับข้อเสนอแนะไปปฏิบัติคณะกรรมการอิสระจึงอยู่ในฐานะที่จะมีปัญญาสูงสุด และมีความคล่องตัวสูงสุด และรัฐบาลได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุดไปปฏิบัติ ทำให้เกิดความสำเร็จสูงต่างจากคณะกรรมการแห่งชาติต่างๆ ที่รัฐบาลตั้ง แม้มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานก็ไม่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด เพราะนายกรัฐมนตรีก็ไม่ใช่ผู้รู้ดีที่สุดในเรื่องนั้นๆ กรรมการก็มักผิดฝาผิดตัว ไม่ใช่ผู้ที่เหมาะสมที่สุด แต่เป็นโดยตำแหน่งบ้าง เป็นเพราะอยากเป็นแต่ไม่ได้อยากทำบ้าง เป็นเพราะเป็นคนรู้จัก หรือเพื่อนกับผู้มีอำนาจบ้าง ฯลฯ คณะกรรมการที่เป็นทางการต่างๆ...

รธน. คนฝูงหนึ่งกำลังทำโอกาสให้เป็นวิกฤต คน ๒ คน ไม่ทำให้วิกฤตเป็นโอกาส

วิกฤตการเมืองไทยนำไปสู่ความรุนแรงหลายครั้ง ครั้งใหม่ก็อาจเกิดขึ้นอีกและรุนแรงมาก ต้องเข้าใจว่าองค์ประกอบสำคัญยิ่งยวด (crucial component) ของการออกจากวิกฤติการเมืองคืออะไร ไม่ใช่รายละเอียดของกฎหมาย รูปแบบ กฎเกณฑ์ที่ต่อสู้กันอย่างเละเทะอย่างในเวลานี้ ที่มีคนเรียกว่าเป็นนิติสงคราม นิติสงครามไม่ทำให้ออกจากวิกฤตได้ ควรศึกษาประวัติศาสตร์ การเมืองฝรั่งเศสเคยวิกฤตแล้ววิกฤตอีก ทำอย่างไรๆ รัฐสภาก็แก้วิกฤตไม่ได้ จึงพากันไปขอร้องนายพลชาร์ล เดอ โกล ให้มาช่วยถอนฉนวนวิกฤต เดอ โกล ได้ขอให้เพื่อนชื่อ มีแชล เดอเบร ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่แล้วไปทำประชามติ...

หลักการใหญ่ประเทศไทย ที่จะไปพ้นวิกฤตหลังโควิด

ทิศทางอนาคตประเทศไทยหลังโควิด เป็นเรื่องที่สังคมไทยทุกภาคส่วนควรจะรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ ต้องตีประเด็นให้แตกว่าหลักการใหญ่คืออะไร มิฉะนั้นจะคิดเรื่องปลีกย่อยและแยกส่วนแบบเดิม ที่ทำให้ติดอยู่ในหลุมดำแห่งวิกฤตการณ์ต่อไป ที่โลกอันนำโดยอารยธรรมตะวันตก แม้จะคิดเก่งทำเก่งเพียงใด แต่เป็นการ คิดแบบแยกส่วน และทำแบบแยกส่วน การคิดแบบแยกส่วน ทำแบบแยกส่วนจะนำไปสู่การเสียสมดุลและสภาวะวิกฤตเสมอ เพราะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ และกฎของธรรมชาติ ที่สรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงเป็นองค์รวม (Wholeness) .ในระดับต่างๆ จนกระทั่งโลกทั้งโลกก็เชื่อมโยงเป็นองค์รวมเดียวกันน ดังที่เมื่อโควิดระบาดก็กระทบไปทุกองคาพยพของโลก โลกหลังโควิดที่จะไม่ให้วิกฤตแบบเดิม มนุษย์ต้องมีปัญญา หรือ วิชชา...

สมคิดกับสี่กุมารน่าจะทำอะไร กับเรื่องอิฐบล็อคใหม่ในการสร้างประเทศไทย

บัดนี้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และสี่กุมาร ลาออกจากการร่วมรัฐบาลแล้ว คำถามก็คือคนกลุ่มนี้น่าจะทำอะไร ภาพพจน์ของกลุ่ม ๕ นี้เป็นภาพของคนมีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน แบบที่เรียกกันว่าเทคโนแครต มากกว่าเป็นภาพพจน์ของนักการเมือง เมื่อกลุ่มนี้ไปตั้งพรรคการเมืองประชารัฐ โดยมีอุตตม เป็นหัวหน้าพรรค ยังมีคนเสียดาย เพราะความจริงพวกเขาไม่ใช่นักการเมืองแต่เป็นเทคโนแครต เทคโนแครตที่เก่งและดีหาได้ยากอยู่แล้ว ไม่ควรจะไปสูญเสียพลังไปกับความเป็นการเมือง บัดนี้เมื่อพ้นออกมาแล้วจึงมีคำถามว่าควรทำอะไร ประเทศไทยที่ติดขัดอยู่ทุกวันนี้ บินไม่ขึ้น ทั้งๆ ที่มีทรัพยากรเพื่อการพัฒนา เพราะเต็มไปด้วยโครงสร้างทางอำนาจ...

พยากรณ์การเมืองใหม่ที่จะมาถึงในไม่ช้า

พยากรณ์ได้ว่าการเมืองใหม่จะมาถึงในไม่ช้า เพราะ หนึ่ง ประชาชนเอือมระอากับการเมืองเก่าๆ เต็มที สอง วิกฤตโควิดแสดงให้เห็นว่าการเมืองเก่าๆ ที่ไม่มีคุณภาพไม่สามารถนำประเทศพ้นวิกฤตได้คงจะมีการยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อหาทางออกจากสภาวะเก่าอันไม่โสภา การเมืองใหม่เริ่มจากกระบวนการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่ได้จากมติเป็นเอกฉันท์ของสภาผู้แทนราษฎร ตรงนี้ที่เป็นการเมืองใหม่เพราะใช้วิถีทางสายกลาง ทางสายกลางเป็นทางแห่งความเป็นเหตุเป็นผลล้วนๆ หรือทางสายปัญญา ไม่มีการแบ่งข้างแบ่งขั้ว เราไปเอาอย่างฝรั่งเสียนาน ฝรั่งคิดแบบตายตัวจึงแยกส่วน นำไปสู่การแบ่งข้างแบ่งขั้ว ขัดแย้ง และรุนแรง ประวัติศาสตร์ของยุโรปจึงเต็มไปด้วยสงคราม การเมืองแบบแบ่งข้างแบ่งขั้วสุดๆ...

โลกหลังโควิด – โลก 7 N (ตอนที่ 2)

สังคมยุคใหม่หลังโควิด-19 ที่ใช้หลักคิดองค์รวม บูรณาการ และความมุ่งหมายใหม่ ว่าเป็นสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล (Living Together) จะมีการจัดระบบใหม่ ที่มีชุมชนแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ขนาดต่างๆ ให้เลือก ตั้งแต่ชุมชนเล็กสุดๆ มีคนไม่กี่คน ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ไปจนถึงชุมชนโลก (World Community) โดยแต่ละชุมชนมีความเป็นองค์รวม (Holistic) ของตัวเอง และทั้งหมดสัมพันธ์กันแบบ chaordic ตรงนี้ ควรทำความเข้าใจเรื่อง ส่วนย่อย (Parts) กับ องค์รวม...

โลกหลังโควิด – โลก 7 N (ตอนที่ 1)

เมื่อโลกมีความเครียดจัด จะเกิดสงครามใหญ่ เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) เมื่อต้นทศวรรษ 1930 ตามมาด้วยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งมีคนตายประมาณ ๖๐ ล้านคน หลังสงครามเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาบูมสุดๆ การทำสงครามถูกใช้เป็นวิธีแก้วิกฤต เพราะส่งคนจนจำนวนหนึ่งไปตาย ลดความกดดันทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันกระตุ้นเศรษฐกิจและการมีงานทำด้วยการผลิตอาวุธ และลดความแตกแยกทางการเมืองในชาติ เพราะในยามสงครามผู้คนรวมตัวกันเพื่อเอาชนะศัตรู แม้ฟังดูร้ายกาจ และน่าสลดหดหู่เพียงใดที่การทำสงครามถูกใช้เป็นเครื่องมือแก้วิกฤต ผลก็ไม่จีรัง ก่อนโควิด-19...

โควิด-19 ช่วง ๒ ทำ ๒ เรื่องใหญ่

การต่อสู้การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นมาจนถึงบัดนี้อาจถือเป็นเฟสที่ ๑ อันได้แก่การปิดพื้นที่ทางสังคมเศรษฐกิจเพื่อป้องกันการติดต่อข้ามคน ซึ่งผลก็ยันและยื้อกันอยู่ คำถามก็คือ What's next หรือในช่วง ๒ ควรทำอะไร ควรทำ ๒ เรื่องใหญ่ คือ ๑. จัดให้มีการทำข้อมูลคุณภาพอย่างเข้มข้นของสถานการณ์การระบาด และสภาวะทางสังคมเศรษฐกิจสังคมของประชาชน เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการพุ่งเป้า คือปฏิบัติการเข้มข้นมากขึ้น ณ เป้าที่มีความเสี่ยงสูง ขณะเดียวกันทยอยเปิดพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อบรรเทาความยากลำบากทางสังคมเศรษฐกิจ...

Stay Connected

22,939แฟนคลับชอบ
3,912ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles