นายปรัชญา เสริฐลือชา นายอำเภอลับแล นายสมัคร ทุลา สาธารณสุขอำเภอลับแล พร้อมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิตร่วมกับท้องถิ่นและ อสม.ในพื้นที่จัดตั้งชุมชนต้นแบบตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ แก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จของประชาชนที่เกินเกณฑ์มาอย่างต่อเนื่องโดยข้อมูลในปี 2560 – 2564 มีอัตรา 18.64  23.05  14.49 และ 16.18 ต่อประชากรแสนคน,เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลการสอบสวนทางระบาดวิทยาผู้นำตัวตายสำเร็จ พบว่าเพศชายมากกว่าเพศหญิงปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ได้แก่ โรคประจำตัว ร้อยละ 49.3 โรคเบาหวาน 50.7 โรคความดันโลหิตสูง 26.7 ถูกตำหนิ ติเตียน ต่อว่าร้อยละ 40.0 ถูกด่าด้วยคำหยาบคาย เหยียดหยาม ร้อยละ 20.0 ปัจจัยเสี่ยง ด้านเศรษฐกิจคือรายได้ไม่พอในเวลาที่จำเป็นต้องใช้เงิน ปัญหาที่มาจากหนี้สิน ประเมินปัญหาการใช้สุราและสารเสพติด พบมีการดื่มสุรา ร้อยละ 49.3 บุหรี่ ร้อยละ 12.0 ยากล่อมประสาท ร้อยละ 10.7กัญชา ร้อยละ 8.3 จากสถานการณ์การแพร่ระบาตโรคโควิด 19 อำเภอลับแล พบผู้ติดเชื้อสะสม 13,419 รายไม่มีผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต้องทำงานหนักมากกว่าเดิม เกิดภาวะเหนื่อยล้า หมดไฟ ภาวะเครียดผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยงถูกกักตัว และมีการ “ล็อคดาวน์” ประชาชนประสบปัญหาการหยุดงาน ตกงาน ว่างงานจึงเกิดความเครียด อึดอัดจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป อีกทั้ง “ตื่นตระหนก” “ตื่นกลัว” “ตื่นข่าว” ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชน หากไม่สามารปรับตัวได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นและหากไม่สามารถจัดการปัญหาต่ำงๆได้ก็จะนำมาสู่การเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการดูแลช่วยเหลือเพื่อเป็นลดความเสี่ยงป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตระยะยาว เพื่อสร้างสังคมที่เป็นสุขให้กลับคืนสู่ภาวะปกติให้ประชาซนได้ใช้ชีวิตปกติภายใต้สถานการณ์ วิถีชีวิต ” New Norma(” โดยส่งเสริมการสร้างวัคซีนใจในระดับบุคลคลระดับครอบครัว และระดับชุมชน ถือเป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ. ผ่านกระบวนการวิเคราะห์สาเหตุปัญหาและวางแผน ขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ภายใต้แนวคิด “เครือข่ายสุขภาพจิตดีวิถีลับแล”

การบูรณาการงานสุขภาพจิตเข้ากับ พชอ. อย่างเป็นรูปธรรมโดยผ่านกระบวนการประชุมเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน ประกอบด้วย นายอำเภอลับแล คณะกรรมการพชอ. อนุกรรมการและภาคีเครือข่าย 60 คน โดยมีวิสัยทัศน์ คือ เมืองสุขภาพดี วิถีลับแล มีความเรียบง่าย วิถีเกษตรกรรม วัฒนธรรมหลากหลาย และกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ 10 อ. ซึ่ง1 ใน10 อ.คือ อารมณ์  ประชาชนมีความสุข ส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตทุกกลุ่มวัย อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลง การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขและแกนนำชุมชนในการอบรมหลักสูตรเสริมสร้างความเข้มแข็ง หลักสูตรวิทยากร ครู ก จำนวน 60 คน และมีการขยายผลกับอสม.และผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อนรัง ได้รับการสนับสนุนความรู้จาก ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2  การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยระบบเครือข่ายสร้างการมีส่วนร่วมส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต  อาทิเครือข่ายทางศาสนา ภาครัฐ แกนนำชุมชน ภาคเอกชน ครอบครัวและญาติ เครือข่ายสถานีวิทยุชุมชน  การพัฒนาระบบการจัดการปัญหาการฆ่าตัวตายระดับอำเภอ โดยชุมชนมีส่วนร่วม  ศปสอ.ลับแลร่วมกับศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 พัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชนเพื่อป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่ รวมถึงการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีความรู้ ซึ่งผลจากการดำเนินงาน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง สามรถเข้าถึงบริการคัดกรองสุขภาพจิตอย่างทั่วถึงและประชาชนเข้าถึงระบบการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตพบว่าประชาชนได้รับการประเมินภาวะสุขภาพจิต จำนวน 2,101 ราย มีความเสี่ยงภาวะสุจำนวน 13 ราย ได้รับการคิดตามดูแลช่วยเหลือ คิดเป็นร้อยละ 92.31เกิดความสามัคคี ได้ออกกำลังกาย ทราบปัญหาแต่ละพื้นที่ ประชามีขวัญกำลังใจ ได้บูรณาการความมือ เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพในชุมชน ประชาชนมีรายได้ ประชาชนมีความสุข ระบบการดูแลสุขภาพจิตในภาวะวิกฤตของชุมชนที่ชัดเจน นำระบบเครือข่ายชุมซนเข้าจัดการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ และนำความรู้ความเข้าใจหลักการสร้างวัคซีนใจในชุมชน 4 สร้าง 2 ใช้ นำผู้ป่วยจิตเวชกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชนปี 2564 ได้จำนวน 2 ราย ปี 2565 จำนวน 2 รายในปี 2563 – 2563 มีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายลดลง 25.41 38.82 และ 14.68 ต่อประชากรแสน และอัตราการตัวตายสำเร็จลดลง 14.52 16.34 และ 7.31 ต่อประชากรแสน เกิดศูนย์บวรรักษ์ในการให้บริการผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชนผู้รับบริการสามารถเข้าถึงการบำบัดรักษา ได้อย่างสะดวกใกล้บ้านใกล้ใจ ลดการตีตราจากสังคม เพิ่มการยอมรับและอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน สังคมได้อย่างปกติสุข เกิดพื้นที่ตันแบบในการดูแลสุขภาพจิตของชุมชน คือ ตำบลต้นแบบจัดการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตตำบลทุ่งยั้ง 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. มีระบบการดำเนินงานและขับเคลื่อนสู่ระดับตำบลอย่างเป็นรูปธรรมสามารถจัดการปัญหาภายใต้บริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ด้วยความเข้มแข็งของเครือข่ายแต่ละพื้นที่ 2. การพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ด้านสุขภาพแก่บุคลากรเครือข่ายทุกระดับทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการร่วมกันและสามารค้นหาคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในชุมชนเพื่อนำเข้าสู่การดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตทุกมิติ 3.มีการขยายผลการดำเนินงานและความต่อเนื่องแต่ละพื้นที่สามารถประสานเครือข่ายตำเนินการระดับตำบลได้สำเร็จเป็นรูปธรรมมีชุมชนต้นแบบ บุคคลต้นแบ มีกรแลกเปลี่ยนเขียนรู้แก่พื้นที่อื่นให้สามารถนำไงประยุกต์ใช้ต่อไป 4. มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและการสื่อสารมวลชนประชาสัมพันธ์ข่าวสารสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนได้อย่างครอบคลุม และสามารถคว้ารางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ เครือข่ายที่ดำเนินการดีเด่น ด้านการบูรณาการงานสุขภาพจิตเข้ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พ.ศ. 2565 จากกรมสุขภาพจิต

ภาพ-ข่าว ณัฐวัฒน์  ราชประสิทธิ์ จ.อุตรดิตถ์