565 นายสุดชาย  พรหมมลมาศ  ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 กล่าวว่า  จากสถานการณ์ฝนตกในรอบ 24 ชั่วโมง (กรมอุตุฯ และ สสน.) จึงทำให้ปริฒาณน้ำฝน จ.เชียงใหม่ อ.แม่อาย 64 มม. จ.ลำพูน อ.บ้านธิ 33 มม. และ จ.แม่ฮ่องสอน อ.ปางมะผ้า 67 มม. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ปริมาณน้ำ 189.043 ล้าน ลบ.ม. (71%) Inflow 5.269 ล้าน ลบ.ม. Outflow 0.325 ล้าน ลบ.ม. (เส้นปริมาณน้ำอยู่สูงกว่าเกณฑ์ควบคุม URC )

แผนส่งน้ำฤดูฝน ปี 2565 ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในเขตพื้นที่โครงการฯ 55 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่ มิ.ย. 65 –  พ.ย. 65 ผลการส่งน้ำสะสมตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. – ปัจจุบัน  14.755 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าแผน 5.464 ล้าน ลบ.ม.

 ทางสำนักงานชลประทานที่ 1 จังหวัดเชียงใหม ได้มีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ โดยสำนักงานชลประทานที่ 1 ได้ดำเนินการดังนี้ คือ ประชาสัมพันธ์และชี้แจงข้อมูลสถานการณ์น้ำ / แผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2565  ผ่านช่องทางต่าง ๆ  การประชุมร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำ/หน่วยราชการ/องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ การแจ้งข้อมูลผ่านเว็บไซต์หน่วยงาน/ไลน์กลุ่ม การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ฯลฯ พร้อมทั้งการเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย แผนติดตั้งเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 78 เครื่อง, รถบรรทุกน้ำ 16 คัน, รถขุด 5 คัน, รถบรรทุก 6 ล้อ 25 คัน, รถแทรกเตอร์ 1 คัน และเครื่องจักรกลสนับสนุนอื่น ๆ 12 หน่วย

 ทางสำนักงานชลประทานที่ 1 ได้ให้การต้อนรับ  ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯได้เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ และลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการประตูระบายน้ำในลำน้ำปิง อำเภอเมืองเชียงใหม่  โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ และหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงเกษตรฯ ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เข้าร่วมประชุมรับนโยบายและแผนงาน พร้อมเดินทางไปตรวจโครงการประตูระบายน้ำในลำน้ำปิง สามารถควบคุมการเปิดปิดบานระบายน้ำด้วยระบบอัตโนมัติที่เชื่อมโยงกับข้อมูลปริมาณน้ำ และสามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งมีค่าความปลอดภัยคิดเป็น 1.5 เท่า ของอัตราการระบายน้ำสูงสุดของลำน้ำปิงเมื่อขุดลอกปรับแต่งลำน้ำทั้งด้านเหนือและด้านท้ายประตูระบายน้ำ ที่ 800 ลบ.ม.ต่อวินาที

  ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาการเกิดอุทกภัยในเขตเมืองเชียงใหม่ ที่สร้างความเสียหายต่อพื้นที่ย่านธุรกิจการค้าและพื้นที่พักอาศัย ซึ่งมีพื้นที่ที่เคยเกิดน้ำท่วมประมาณ 44,400 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ฝั่งตะวันออก 37,300 ไร่ และพื้นที่ฝั่งตะวันตก 7,100 ไร่นอกจากนี้ ประตูระบายน้ำดังกล่าวฯ ยังทำหน้าที่ส่งน้ำให้กับฝายท่าศาลา พื้นที่กว่า 10,000 ไร่ ฝายหนองผึ้ง พื้นที่ 5,200 ไร่ และฝายวังตาล พื้นที่ 8,100 ไร่ และยังบรรเทาปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำปิง โดยการระบายน้ำเสียและตะกอนที่ตกทับถมอยู่บริเวณท้องน้ำให้ไหลไปทางด้านท้าย เป็นการถ่ายเท และหมุนเวียนน้ำ ทำให้คุณภาพในแม่น้ำปิงดีขึ้น เกษตรกรสามารถกลับมาทำนาได้อีกครั้ง

โดยทาง ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯได้ลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโครงการประตูระบายน้ำในน้ำปิงแล้ว ยังตั้งใจมาให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ที่ปฏิบัติราชการอยู่ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะหลังการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้เห็นการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เป็นไปอย่างดีเยี่ยม

ภาพ-ข่าว นิวัตร-ภัทร์ศิริ  ธาตุอินจันทร์ เชียงใหม่