ที่อาคารอเนกประสงค์สำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่    นายสุดชาย  พรหมมลมาศ  ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่พร้อมด้วยนายศักดิ์ชัยคุณานุวัฒน์ชัยเดช  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการจัดการประชุมชี้แจงแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 2565/ 2566 ของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนจังหวัดเชียงใหม่ลำพูนโดยมีหน่วยงานราชการอวค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนกว่า 150 รายเข้าร่วมประชุมข้อมูล

โดยสรุปสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน (จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน) 1. สถานการณ์ น้ำฝน/น้ำท่าปริมาณน้ำฝนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน สะสมตั้งแต่ 1 ม.ค 65 ถึง ปัจจุบัน ดังนี้ -วัดที่ สถานีอุตุฯ จ.เชียงใหม่ (สนามบิน) 1,829 มิลลิเมตร มากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 58% (เกณฑ์เฉลี่ย 1,158 มม.) -วัดที่ สถานีอุตุฯ จ.ลำพูน  1,419 มิลลิเมตร มากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย  25% (เกณฑ์เฉลี่ย 1,137 มม.)ปริมาณน้ำในลำน้ำปิง ที่ไหลผ่านสถานี P.1 (สะพานนวรัฐ) สะสมตั้งแต่ 1 ม.ค 65 ถึง ปัจจุบัน1,657 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 4% (เกณฑ์เฉลี่ย 1,595 ล้าน ลบ.ม.)

2. แผนการจัดสรรน้ำของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ฤดูแล้งปี 2566  3. การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2566 ของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน (จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน)พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิง ตั้งแต่ด้านท้ายน้ำฝายแม่แฝกจนถึงบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล มีความต้องการใช้น้ำ ด้านอุปโภค-บริโภค(ประปา) ประกอบด้วยสถานีผลิตน้ำประปา ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 7 สถานี จังหวัดลำพูน

1 สถานี รวม 8 สถานี และด้านการเกษตรในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน รวมพื้นที่ 165,912 ไร่ (ปตร. 4 แห่ง/ ฝาย 8 แห่ง / สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 90 แห่ง) ซึ่งใช้น้ำจากแม่น้ำปิง แต่แม่น้ำปิงมีน้ำไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง จึงจำเป็นต้องส่งน้ำจากเขื่อนแม่งัดฯ ให้การสนับสนุนเป็นประจำทุกปี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการจัดสรรให้พื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนแบบบูรณาการร่วมกัน ระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัดฯ โครงการชลประทานเชียงใหม่ โครงการชลประทานลำพูนและส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 1 เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำปิงตอนบนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการวางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตพื้นที่เพาะปลูกสองฝั่งของแม่น้ำปิงจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ปี 2566 เท่ากับ 165,912 ไร่ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับผลการเพาะปลูกปีที่แล้ว 147,713 ไร่ (มากกว่า 18,199 ไร่) ในขณะที่ปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนแม่งัดฯ มากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งเขื่อนแม่งัดฯสามารถจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิงได้มากถึง 80 ล้าน ลบ.ม. (มากกว่าปีที่แล้ว 65 ล้าน ลบ.ม.) พื้นที่เพาะปลูกรวมเพิ่มขึ้น 18,199 ไร่ คิดเป็น 12%  

ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ที่ใช้น้ำจากลำน้ำปิงมีสถานีสูบน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค รวม 8 สถานี (จ.เชียงใหม่ 7 สถานี จ.ลำพูน 1 สถานี) รวม 21 ล้าน ลบ.ม. (ม.ค.-พ.ค. การส่งน้ำ​การวางแผนการส่งน้ำจากเขื่อนแม่งัดฯ ลงลำน้ำปิงในช่วงฤดูแล้งปี 2566 เริ่มตั้งแต่ 5 มกราคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566 จำนวน 21 รอบเวร ปริมาณน้ำ 80 ล้าน ลบ.ม. โดยมีหลักการดังนี้

​1. วันเสาร์และวันอาทิตย์ งดการใช้น้ำ เพื่อให้สามารถส่งน้ำไปถึงพื้นที่ด้านท้ายน้ำ ยกเว้น เพื่อการอุปโภค-บริโภค และประปาสามารถสูบน้ำได้ทุกวันสำหรับ การส่งน้ำ​การวางแผนการส่งน้ำจากเขื่อนแม่งัดฯ ลงลำน้ำปิงในช่วงฤดูแล้งปี 2566 เริ่มตั้งแต่ 5 มกราคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566 จำนวน 21 รอบเวร ปริมาณน้ำ 80 ล้าน ลบ.ม. โดยมีหลักการดังนี้

​1. วันเสาร์และวันอาทิตย์ งดการใช้น้ำ เพื่อให้สามารถส่งน้ำไปถึงพื้นที่ด้านท้ายน้ำ ยกเว้น เพื่อการอุปโภค-บริโภค และประปาสามารถสูบน้ำได้ทุกวัน2. วันจันทร์ 09.00 น. ถึง วันศุกร์ 18.00 น. เปิดใช้น้ำพร้อมกัน ยกเว้นฝายแม่ปิงเก่าเปิดใช้ วันจันทร์ 09.00 น. ถึง วันพฤหัสบดี 09.00 น. รวม 3 วัน (เนื่องจากคลองส่งน้ำฯ มีขนาดกว้างและยาว จึงต้องลดระยะเวลาการส่งน้ำ โดยส่งน้ำในอัตราการไหลสูง เพื่อให้น้ำไหลถึงปลายคลองได้)

ภาพ-ข่าว นิวัตร  ธาตุอินจันทร์  เชียงใหม่

​​​​​​​​​​