ที่ ห้องประชุมสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย จัดกิจกรรม  เวิร์กช็อปความรู้ทางการเงินสำหรับมือใหม่ โดยมี ดร.ณัฏฐพล สันธิ  ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  ให้กล่าวเปิดกิจกรรม  จากนั้น  Ms. Deb Mak, Assistant Cultural Attaché Media and Cultural Section, U.S. Embassy Bangkok  ( เดฟ  แม็ค รองผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรมสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ) ร่วมให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม  และบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน ซึ่งมีนักศึกษาจากสาขาวิชาสำนักบัญชี  ชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเข้าร่วมกิจกรรมในการเวิร์กช็อปในครั้งนี้ จำนวน 35 คน

คุณ ตรีธิดา  อินทรวงส์โชติ  ผู้ก่อตั้งโครงการ เผยว่า สำหรับกิจกรรม  The Financial Lab : Financial Literacy workshop for young starter  ได้นำผลจากแบบสำรวจจากธนาคารเห่งประเทศไทย  เมื่อปี 2559 เรื่อง ความสามารถทางการเงินตาม บรรทัดฐานขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (DECD) ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ความรู้ทางการเงิน  พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน พบว่า ความสามารถทางการเงินตามคำนิยามของ OECD ของคนไทยนั้นอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรโลก 

โดยด้านความรู้ทางการงินของประชากรไทยนั้นมีคะแนนต่ำที่สุด  ในเรื่องมูลค่าเงินตามเวลาดอกเบี้ยทบต้น และ เงินเฟ้อ ด้านพฤติกรรมการเงินพบว่า 33% ของประชากรไทยไม่มีเงินออมและส่วนใหญ่ประสบปัญญาในการออมงินเผื่อกรณีฉุกเฉิน  และการเกษียณ อีกทั้งยังพบว่าทัศนคติทางการเงิน  ของคนไทยนั้นมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน คือมักจะใช้จ่ายไปกับวิถีชีวิตและความสะดวกสบาย มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่คำนึงถึงการใช้จ่ายหรือลงทุนเพี่ออนาคต เช่น การออมระยะยาวหรือการเกษียณ  การขาดความตระหนักรู้ทางการเงิน  และการบริหารเงินส่วนบุคคล  ย่อมนำมาสู่ปัญหาการเงินส่วนบุคคลในหลายประเด็น

จากรายงานของ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) รายงานว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยในสิ้นปี 2564 มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากเดินเมี่อสิ้นปี 2563 ที่ 80% ต่อ GDP เป็น 93% ต่ว GDP ซึ่งถือได้ว่าสูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งเเต่มีการเก็บข้อมูล และกว่า16% ของตัวเลขดังกล่าว เป็นสัดส่วนของกลุ่มข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ 35% ของหนี้ครัวเรือน   เกิดจากการกู้ยืมเพื่อการใช้จ่ายในการบริโภคชีวิตประจำวัน ไม่รวมหนี้สินอันเกิดจากการกู้ยืมกองทุนพัฒนาต่างๆในชุมชน  อาทิ  สหกรณ์ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือการกู้นอกระบบ ชี้ให้เห็นว่าตัวเลขหนี้สินที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มที่จะเลวร้ายกว่าที่คาดเดาได้  และย่อมจะส่งผลให้เกิดความเปราะบางทางเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว

“แม้การเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นหนึ่งในปัยจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้นตอของปัญหาการเกิดหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะหนี้บริโภค ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ COVID-19 แต่เป็นปัญหาที่มีการสะสมและเพิ่มพุนตามการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐทิจของประเทศไทยนับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน การเเก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในประเทศไทยผ่านนโยบายกระตุ้นรายได้และมาตรการช่วยเหลือต่างๆ จึงอาจไม่เพียงพอที่จะขจัดปัญหาดังกล่าวในระยะยาว การสร้างความตระหนักและส่งเสริมความรู้เรื่องการเงินส่วนบุคคลแก่ประชากร  จึงเป็นอีกสิ่งที่จะช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นและการเกิดซ้ำของปัญหาดังกล่าวในระยะยาว”   คุณ ตรีธิดา กล่าว

จากความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยจึงได้จัดทำโครงกาs ‘The Financial Lab : Financial Literacy  for Young Starter” โดยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจการเงินและการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล ผ่านการจัดกิจกรรม เวิร์กช็อป ที่มีการออกแบบลักษณะของกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์และมุมมองของตนเอง (ExperienceBase Leaning ) ภายใต้ระยะเลา 8 ชั่วโมง ให้สามารถนำองค์ความรู้และประสการณ์ที่ได้รับไปประยุกค์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของตนเอง  และเกิดเกราะป้องกันทางความคิดในเรื่องการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 350 คน จากมหาวิทยาลัยราชกัฏ 10 แห่ง  ครูและบุคลากรการศึกษา จำนวน 350 คน จากพื้นที่เป้าหมายและพื้นที่ไกล้เคียง  จำนวน 10 แห่ง  จากภาคเหนือ : เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม ภาคใต้ : ยะลา นครศรีรรรมราช ภูเก็ต 

 สำหรับกิจกรรมเวิร์กช็อป The Financial Lab : Financial Literacy workshop for young starter เป็นกิจกรรมการเวิร์กช็อปการบริหารจัดการเงิน  ให้ความรู้ทางการเงินสำหรับมือใหม่เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นการวางแผนการเงิน แบบง่ายๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง โดยวิทยากรมืออาชีพ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นครั้งแรกและจะมีการ เวิร์กช็อปที่จังหวัดเชียงราย 2 วัน คือในวันที่ 25 มีนาคม 2565  เปิดเวิร์กช็อปให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่ ที่ห้องประชุมสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  และวันที่ 26 มีนาคม 2565 เปิดเวิร์กช็อปให้กับ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ที่ ห้องประชุม ลีโอ เชียงราย สเตเดียม ( Leo Chiang Rai Stadium)

  โดยกิจกรรมเริ่มจาก ให้ผู้เข้าร่วม กิจกรรมทำแบบทดสอบประเมิณทักษะการเงินสำหรับ young starter และจัดกลุ่มทำกิจกรรม  “ Life map designing”  ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ออกแบบแผนที่ชีวิตและการใช้เงิน เพื่อเป็นการรู้จักการวางแผนในการใช้เงิน ในชีวิตประจำวันและอนาคต  ผ่านการเล่นเกมส์จำลองการใช้ชีวิตประจำวัน  กิจกรรม Experiencing your flow : งบกระแสเงินสดในชีวิตประจำวัน  กิจกรรม สมการความมั่งคั่ง เพื่อ ชีวิตแบบ FIRE!  กิจกรรมกลุ่ม “Quick Win : รู้จักรูรั่วทางการเงินกิจกรรม Financial Life Cycle game   บรรยาย เทคนิคการจัดการการเงิน  สำหรับคนรุ่นใหม่ เข้าใจง่ายปฏิบัติได้  โดย คุณ ตรีธิดา อินทรวงส์โชติ ที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล (FA,IC, FchFp, CFP1-3)   และกิจกรรม จัดระเบียบกระเป๋าตังค์    และกิจกรรมบรรยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนรุ่นใหม่  ปิดท้ายด้วยกิจกรรมทำแบบทดสอบประเมินผลและประเมินกิจกรรม

ภาพ-ข่าว ณัฐวัตร ลาพิงค์/เชียงราย