นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผศ.ดร.ศศิธร จันทมฤก  ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน คณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน ที่ปรึกษาโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อสร้างการรับรู้ในกิจกรรม ตามโครงการผ้าไทยให้สนุก ตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา  ซึ่งเกิดจากพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ในการนี้ นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นายจำรัส นาแฉล้ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มทอผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนคร ให้การต้อนรับและให้ข้อมูล

ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวอัญเชิญพระนิพนธ์คำนำ สมเด็จพระเจ้าสิริวัณณวรี นารีตนราชกัญญา ความว่า ดอยกอยโมเดล : “ครามและย้อมธรรมชาติ” สู่คอลเลคชั่น ผ้าย้อมครามเป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่มี อยู่ในทุกทวีปทั่วโลก เริ่มจากแอฟริกา อเมริกาใต้ ยุโรปจนถึงเอเชียตะวันออก สะท้อนถึงวิถีชีวิตแนวคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย ในจุดหมายเดียวกันบนผ้า ผืนงามสีน้ำเงินคราม ทั้งนี้ บ้านดอนกอย ได้สืบต่อภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ผ้าย้อมครามที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากบรรพบุรุษ และได้ต่อยอดภูมิปัญญานั้นให้มีความร่วมสมัย เกิดเป็นผ้าครามผืนงามใส่ได้ในทุกวาระ โอกาส ตามแนวคิด ‘ผ้าไทยใส่ให้สนุก’ เสมือนเป็นการมอบลมหายใจในอดีตให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง  โดยกิจกรรมในวันนี้ประกอบด้วย การแสดง “สาวน้อยรำเซิ้งย้อมคราม” จากโรงเรียนบ้านดอนกอย การร้องเพลง ” บ้านดอนกอย ” โดยแม่ถวิล อุปรีย์ ประรานกลุ่มผ้าย้อมคราม ได้เล่าประวัติความเป็นมาของกลุ่มและพาเยี่ยมชมกลุ่ม ภาคีเครื่อข่ายผ้าย้อมคราม อำเภอพรรณานิคม พร้อมสมาชิกได้ร่วมกันร้องเพลง “กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย”

สำหรับกระบวนการผลิต 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเข็นฝ้าย , คันหมี่ , มัดหมี่ 2. การทำน้ำคราม ก่อหม้อ ย้อมคราม 3. การเตรียมเส้นด้ายและการย้อม 4. การมัดหมี่ 5. การคันฮูก,สืบฮูก, ปิ่นหลอดและ 6. การทอผ้าย้อมคราม เป็นต้น  นางถวิล อุปรีย์ ประธานกลุ่ม ผ้ายอมครามบ้านดอนกอย เปิดเผยว่า กลุ่มผ้าครามบ้านดอนกอย เป็นการรวมกลุ่มของสตรีแม่บ้านในหมู่บ้าน ที่ว่างเว้นจาการทำนา ทำไร่ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  เป็นกิจกรรมสีบสานภูมิปัญญาขาวบ้านมาตั้งแต่บรรพบุรุษเอาไว้ แต่ก่อนมีการทำผ้าย้อมคราม เพื่อไว้ใช้สอยในครัวเรือน ต่อมาผ้าครามได้รับความนิยม และเป็นที่ต้องการของตลาด จึงทำให้แม่บ้านได้มารวมตัวกันผลิตผ้าครามเพื่อจำหน่าย มีการพัฒนาและนำสู่ตลาดจนเป็นที่รู้จักทั่วไป มีการสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและข้าราชการ หันมาสวมใสผ้ายอมครามเพื่อเป็นการส่งเสริม และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผ้าครามต่าง ๆ ซึ่งผ้าครามในจังหวัดสกลนคร ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งคราม ทำให้ตลาดผ้าครามคึกคักและมีเม็ดเงินไหลเข้าจังหวัดได้เป็นจำนวนมาก เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากอีกด้วย

ภาพ-ข่าว  วัฒนะ แก้วก่า ผู้สื่อข่าว จ.สกลนคร