สำหรับบรรยากาศตามคณะตกแต่งบั้งแสนสวยงาม ค่ายบั้งไฟจุดขึ้นสูง ต่างก็พากันเร่งมือการแกะสลักลวดลาย และเร่งผลิตบั้งไฟแสน เพื่อเข้าประกวดและแข่งขัน ในงานประเพณีบุญบั้งไฟประจำปี 2566 โดยเฉพาะเจ้าของและตำหรับมืออาชีพในการออกแบบและแกะสลักลวดลายในการตกแต่งบั้งแสน ชื่อ นายมานิต ชื่นตา อายุ 71 ปี บ้านโนนใหญ่ ตำบลห้วยแก้ง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ช่างรายนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในภาคอีสานของการตกแต่งบั้งไฟสวยงาม เป็นผู้มีพรสรรค์มานะอดทน เป็นคนเดียวที่อนุรักษ์สืบสาน ด้านการออกแบบแกะสลักลวดลาย ได้อย่างละเอียดอ่อน ฝีมือประณีต แต่ละลายบ่งบอกให้เห็นถึงลายเอ้บั้งไฟเป็นศิลปะที่กรมกลืนแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทยอีสานได้อย่างลงตัว สำหรับรวดลายที่ออกแบบถอดออกมาจะมีตั้งแต่ ลายขอ ลายผ้าไหมมัดหมี่ ลายขิด ลายขอ ลายประยุคไทยลาวแบบล้านนา มีการตืดสลับสีเงินทอง ฟ้า ชมพู แดง ขาว  แต่ละช่วงให้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอีสานอย่างแท้จริง เมื่อมีแสงไฟ แสงตะวันกระทบ จะมีระยิบระยับ เหมือนแหวานเพชร นิลจินดา กระดาษสีที่นำมาแกะสลักจะมีความทนทานต่อฟ้าลมฝนแสงแดด ไม่หลุด ไม่ร่อนออกง่าย

นาย มานิต ชื่นตา อายุ 71 ปี เป็นช่างที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปไกล หากลายบั้งไฟยโสธร ต้องยกนิ้วให้เขานี้ล่ะ ช่วงเวลาว่างฤดูงานบุญบั้งไฟ มักจะมีผู้คนเดินทางมาจากต่างจังหวัดฯ เพื่อมาขอรับเรียนรู้ฝึกเรียน เรียกได้ว่ามีผู้สนใจมาจากทั่วทุกภูมิภาคเลยทีเดียว สำหรับงานประเพณีบุญบั้งไฟของ จังหวัดยโสธร  เดิมกำหนดเอาภายในวันที่ 12-13-14 พฤษภาคม เป็นประจำ แต่ปีนี้วันดังกล่าวได้ตรงกับวันเลือกตั้ง สส.จึงได้มีการเลื่อนมาเป็น  ในวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2566 โดยจะเปิดงานในวันที่ 19 พฤษภาคม 66 ส่วนวันที่ 20 พฤษภาคม 66 เป็นวันแห่บั้งไฟสวยงาม และขบวนรำเซิ้ง จากชาวคุ้มและอำเภอต่างๆส่งเข้าแข่งขัน ส่วนวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เป็นวันจุดบั้งไฟเสี่ยงและชมจุดบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสนขึ้นสูงเพื่อถวายพญาแถนขอฝน ให้ตกตามฤดูกาลทำนา และเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปฏิบัติการมาแต่โบราณและยาวนานนับหลายร้อยปี.  

นอกจากนี้งานตกแต่งบั้งไฟสวยงามแล้ว ยังมีครอบครัวหนึ่ง ที่เป็นคนในตำบลน้ำคำใหญ่ มาเช่าเปิดร้านอยู่ตรงสีแยกที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร สี่แยกหัวมุมถนนแจ้งสนิท จุดจัดงานพอดี ทำการเปิดร้านสกรีนเสื้ออันเป็นเอกลักษณ์ ของงานประเพณีบุญบั้งไฟ  ทำการออกแบบสกรีนเสื้อขาย ร้านแห่งนี้จะมีทั้งกลุ่มนักการเมือง กลุ่มคณะรำเซิ้งบั้งไฟ กลุ่มชื่อคณะจากชาวคุ้มต่างๆ และสั่งทำแบบตัวบุคคล มาสั่งจองกันอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าการออกแบบมีหลากหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่จะบ่งบอกให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของเมืองบั้งไฟยโสธร นาง จิราพร ( นก ) พันสาย ภรรนยาของ นาย ชัยพร พันสาย  เจ้าของร้านบอกว่าได้ยึดอาชีพนี้มากว่า 15 ปี ถึงแม้ไม่ใช่ฤดูกาลบุญบั้งไฟ ก็จะมีประชาชนมาขอสั่งทำตลอดเวลา  สร้างรายได้พอที่จะนำไปดูแลครอบครัวและลูกๆได้ จะพอมีงานประเพณีบุญบั้งไฟตั้งแต่เริ่มต้นมาได้วันละไม่ต่ำกว่า วันละ 2,000-3,000 บาท เลยทีเดียว เรียกว่าช่วงนี้ทั้งอาหาร ของที่ระลึกขายดี…////

https://youtu.be/JnW_RhYZwXo

ภาพ/เกียรติศักดิ์ ข่าว-ประกาศ ศรีสมบูรณ์  รายงานจากจังหวัดยโสธร