ที่เฮือนไทลื้อยายแสงดา สมฤทธิ์  อายุ93ปี บ้านเลขที่ 31หมู่2  บ้านธาตุ ต.บ้านหย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา พร้อมด้วยกลุ่มแม่บ้านไทลื้อ บ้านธาตุร่วมกันทำขนมปาดโบราณของชุมชนไทลื้อที่หาทานยาก ชึ่งการทำขนมปาดโบราณของชุมชนไทลื้อจะใช้ อุปกรณ์ในการทำในท้องถิ่นของก็ยังคงมีการคนขนมปาดด้วยไม้พายชึ่งการทำชนมปาดจะทำในงานประเพณีสำคัญๆ ที่เห็นได้ชัดก็คือ งานประเพณีงานบุญต่างๆถือได้ว่าพิธีกวนขนมปาดหรือการคนขนมปาดในงานบุญ เป็นการสร้างความสามัคคีและความรักใคร่ของคนในท้องถิ่นไทลื้อ เป็นพิธีหรือประเพณีที่อนุรักษ์ สืบสานเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่ชุมชนไทลื้อได้สั่งสมเอาไว้ นับได้ว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

ยายแสงดา  เล่าว่า ขนมปาดโบราณของชุมชนไทลื้อนั้นมีมานานเป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อนำไปทำบุญที่วัดเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่เมืองและเลี้ยงแขกที่มาเที่ยวบ้านตอนสงกรานต์ ส่วนผสมของขนมปาดนั้น ประกอบด้วยข้าวเจ้า น้ำอ้อย น้ำตาล  ส่วนวิธีทำนั้นมีขั้นตอนไม่มากนัก แต่ต้องอาศัยเวลาในการทำเป็นอย่างมาก เริ่มจากนำข้าวสารจ้าวที่บดละเอียด มาเคี่ยวกับน้ำอ้อย ในกระทะใบบัว ใช้ไม้พายคน กันประมาณ 3 ชั่วโมง และเทใส่ถาดมิ้งไว้ให้เย็น แล้วตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับข้าวแคบสำหรับราคาขายถ้าเป็นถาดก็จะถาดละ200บาทหรือขายเป็นชิ้น ใหญ่ ราคา5-10บาท ชึ่งถือว่าหาทานยากและเป็นขนมปาดสูตรโบราณของชุมชนไทลื้อของอำเภอเชียงคำอีกด้วย

ภาพ-ข่าว ปัณณวิชญ์ อยู่ดี อ.เชียงคำจ.พะเยา