เชียงใหม่ กำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเชียงดอยร่วมโครงการปลูกผักเพราะรักแม่

1

ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเชิงดอยนำโดย นางสาวโสรัตยา บัวชุม กำนันต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ร่วมนำ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเชิงดอย ศึกษาดูงาน โดยร่วมประสานติดต่อบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (โอ้กะจู๋) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา(ดอยสะเก็ด) ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลเชิงดอย เพื่อนำองค์ความรู้เทคนิควิธีการไปพัฒนาบุคลากร และบริหารจัดการในสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม กลุ่มอาชีพ เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน

โดยเข้าร่วมศึกษาดูงานตาทลำดับดังนี้ เวลา 08.30 น.- 12.00 น. ร่วมอบรม ด้านเทคนิคการบริหารจัดการบริษัทโอ้กะจู๋ ให้ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ และลงพื้นที่เพื่อศึกษาการทำปุ๋ยอินทรีย์การปลูกผักออแกนิค โดย คุณชัดชาญ เอกชัยพัฒนกุล ที่ปรึกษาผู้บริหารชั้นสูง และลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ขั้นตอนหมักปุ๋ยอินทรีย์ ที่ได้นำเศษใบไม้ หรือวัสดุต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาทำเป็นปุ๋ยได้ เช่น เศษผักออร์แกนิค กิ่งไม้ ซังข้าวโพด โดยทำ “ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง” โรงเรือนสำหรับปลูกผัก กับโรงเรือนระบบหมุนเวียนอากาศ ( Evaporative cooling system )ที่สามารถปลูกผักที่ปราศจากสารเคมีและยาฆ่าแมลงซึ่งหารับประทานทานได้ยาก เช่น ผักคะน้าออร์แกนิค กะหล่ำปลีออร์แกนิค

อีกทั้งยังสามารถลดอุณหภูมิในโรงเรือน ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพของผลผลิตได้ โดยพื้นที่ ที่ใช้ในการปลูกผักทั้งหมดนี้ คือ สวนที่ 1 “สวนผักแห่งศรัทธา” มีพื้นที่ขนาด 12 ไร่ บริเวณด้านหลังของที่ตั้ง คาเฟ่ สาขาแรก  สวนที่ 2 “สวนปลูกผักเพราะรักแม่” ที่มีพื้นที่ขนาด 8 ไร่ ปลูกผักสลัดออร์แกนิค เพื่อส่งสู่ครัวโอ้กะจู๋ และสวนที่ 3 “สวนปลูกผักเพราะรักพ่อ” ได้ขยายพื้นที่ บนพื้นที่ขนาด 50 ไร่  ทั้งนี้บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)หรือOR ได้เข้าลงทุนในบริษัทปลูกผักเพราะรักเเม่ 20% นอกจากได้เงินก้อนใหม่เพื่อนำไปใช้เพื่อรองรับการขยายธุรกิจต่าง ๆ ยังเป็นโอกาสใหม่ ๆ ที่ทำให้ร้านโอ้กะจู๋ได้ไปขยายสาขาเพิ่มเติมในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station รวมถึงการจำหน่ายอาหารแบบ Grab & Go ผ่านร้าน Café Amazon ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ใน 40 สาขา และตั้งเป้าขยายเป็น 80 สาขาในปี 2566 และการตลาด

ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าว ทางชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเชิงดอย มุ่งให้เป็นไปเพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนารายได้ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำไปเพิ่มศักยภาพในการทำงานของผู้นำด้านเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่ราษฎรภายในตำบล ซึ่งสอดคล้องกับการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเป็นที่เรียนรู้ ขยายผลให้กับเกษตร นักศึกษา และขยายให้กับเกษตรกรผู้ที่สนใจ ทั่วไป.

ภาพ-ข่าว  นิวัตร  ธาตุอินจันทร์  เชียงใหม่

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here