ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติใน จ.ลำปาง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดทางผ่าน อีกทั้งรายได้ประชากรต่อหัวไม่ได้สูงมากนักหากเทียบกับจังหวัดท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ แต่กลับมีหลายประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการปรับตัวให้ธุรกิจการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ฯ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในระบบประเภทนานาชาติ

โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเมื่อวันที่  14 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา เปิดเผยว่าประเทศไทยมีโรงเรียนนานาชาติเติบโตสูงสุดในอาเซียน ปัจจุบันมีทั้งหมด 227  แห่ง  ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตของตลาดโรงเรียนนานาชาติระหว่าง ก.ค.2011-2021  พบว่าโรงเรียนเพิ่มขึ้น 62%, นักเรียน 60%  และ Staff 68% โดยสัดส่วนโรงเรียนนานาชาติทั่วโลกอยู่ที่เอเชียมากที่สุดคือ 57 % ไม่เพียงเท่านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจในประเทศไทยยังระบุอีกว่า จังหวัดที่มีการขยายโรงเรียนมากที่สุดคือ กทม. 118  แห่ง รองลงมาคือ จ.เชียงใหม่ 16 แห่ง และ จ.ภูเก็ต 11 แห่ง จากการขยายตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ ทำให้รายได้รวมจากค่าเล่าเรียนต่อปีในประเทศไทยอยู่ที่ 844.9  ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 25,347  ล้านบาท

 ในส่วนของ จ.ลำปาง ซึ่งมีโรงเรียนนานาชาติ 3 แห่ง โดยล่าสุด“เซนต์เฮเลียร์เบรลาร์ด” เป็นโรงเรียนนานาชาติที่เพิ่งได้รับอนุญาตให้เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา สะท้อนว่า “โอกาส” เติบโตของธุรกิจการศึกษาในจังหวัดที่ไม่ใช่พื้นที่เศรษฐกิจระดับชาติหรือมีจุดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวสามารถต่อยอดได้ผ่านการรีแบรนดิ้ง.    

ดร.พงศ์ศิริ คำขันแก้ว (Dr.Pongsiri Kamkankaew) ซีอีโอโรงเรียน ได้กล่าวถึง ในปัจจุบันการใช้ชื่อเซนต์อะไรต่างๆ มันทำให้เกิดการรับรู้กับเป้าหมายของเราได้ง่ายที่สุด อีกทั้งยังเป็นชื่อของเมืองหลวงหมู่เกาะเจอร์ซี่ทางใต้ของอังกฤษ ติดกับฝรั่งเศสและเป็นเมืองที่คนอังกฤษชอบ อากาศอบอุ่น ชายหาดสวย เซเลบริตี้ชอบไป ”ดร.พงศ์ศิริ กล่าวในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) โรงเรียนเซนต์เฮเลียร์เบรลาร์ด ดร.พงศ์ศิริ กล่าวอีกว่า “ประเมินสถานการณ์ของผลิตภัณฑ์ในตลาด ต้องบอกก่อนเลยว่าธุรกิจการศึกษาเป็นธุรกิจปราบเซียนสำหรับคนที่คิดว่าเก่งการตลาด เพราะเป็นธุรกิจที่ตั้งอยู่บนความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ

เหตุผลในการทำธุรกิจนี้ต้องบอกก่อนว่าลำปางแม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆก็ตามแต่ก็มีกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพเทียบเท่ากับต่างประเทศ เราเห็นโอกาสตรงนี้ เพราะฉะนั้นโรงเรียนนานาชาติของเราเด็กจะไม่เยอะ และผู้ปกครองจะมีลักษณะเฉพาะกลุ่ม ในลำปางจะเป็น niche market เราไม่สามารถเอาตัวเองไปเทียบกับโรงเรียนขนาดใหญ่ หรือโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ EP ได้ เพราะว่าคนละบริบทกันเลย มีการบอกต่อ นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในธุรกิจ โดยเราไม่เคยประชาสัมพันธ์หรือยิงโฆษณาเลย เราแทบไม่เคยทำ Sell advertising หรือ โปรโมชั่น แต่ทำไมมีคนเดินมาหาเรา เพราะการบอกต่อสำคัญสำหรับเรา เด็กที่จบออกไปจากที่นี่จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนที่อื่น เช่น ไม่ลอกการบ้านกันนี่คือฟีดแบ็คจากผู้ปกครอง แม้ว่าบางคนจะเปลี่ยนไปเรียนต่อในโรงเรียนไทยก็ไม่ลอกการบ้านเพื่อนไม่มีเลย เด็กจะรับผิดชอบตัวเอง แตกต่างจากเด็กไทยเยอะมาก สังคมที่นี่ค่อนข้างเล็กแต่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้” ดร.พงศ์ศิริ กล่าว.

ภาพ-ข่าว อัมรินทร์ วะนะวิเชียร จ.ลำปาง