นายกิตติศักดิ์ พิมสาร ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ปปช.จว.ลำปาง  ลงพื้นที่ที่บ้านของตามูล คำอิ่น อายุ 85 ปี อยู่บ้านเลขที่55/2 ม.3  ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จว.ลำปาง ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก สนง.พม.จว.ลำปาง เป็นเงิน 40,000 บาท ผ่านทาง อบต.บ้านกิ่ว ซึ่งเมื่อสองวันที่ผ่านมา ได้มีจิตอาสานอกพื้นที่ทั้งภาคประชาชน องค์กร หน่วยงานราชการ เข้าไปช่วยในการก่อสร้างบ้าน แต่จิตอาสาพบว่าในการก่อสร้างบ้านหลังดังกล่าวได้มีการแบ่งเงินที่ได้รับการสนับสนุนเป็นค่าแรงงานจำนวน 11,970 บาท ทำให้เหลือเงินซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างเพียง 26,200 บาท ซึ่งทำให้กลุ่มจิตอาสาเกิดความไม่สบายใจและนำเรื่องร้องมายังสื่อมวลชนเพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพราะต้องการให้ผู้ยากไร้ได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

 หลังจากที่สื่อในพื้นที่ลำปางได้นำเสนอข้อสงสัยดังกล่าว ปปช.ลำปาง ซึ่งทำงานเชิงรุก ได้ประสานข้อมูลจากสื่อและลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในวันนี้ทันที

 จากการตรวจสอบบ้านพบว่าขณะนี้ได้มีการก่อสร้างคือการมุงหลังคา โดยมีการใช้กระเบื้องใหม่ 90แผ่น ผสมกับกระเบื้องเก่า ซึ่งยังมีควาชำรุดคือผ่นเก่าจะมีรูเดิม ซึ่งสภาพไม่เหมาะที่จะนำมาใช้มุงหลังคาเพราะหากฝนตกหนักจะไม่สามารถอยู่ได้ ส่วนโครงสร้างตัวบ้านยังเป็ฯตัวเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะมีการก่อผนัง ปูกระเบื้อง เดินระบบไฟ ฯ ต่อไป

 นายกิตติศักดิ์ พิมสาร ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดลำปาง  ได้ให้สัมภาษณ์หลังจากสอบถามข้อมูลจาก ปลัด อบต. ผู้ใหญ่บ้าน และ จนท.พม.จ.ลำปาง และเดินตรวจสอบภายในบริเวณการก่อสร้างบ้านแล้วว่า เบื้องต้นยอมรับว่าจากการดูข้อมูลที่ได้รับก็รู้สึกแปลกใจเช่นกัน เพราะมีค่าแรงงาน ซึ่งจากที่ผ่านมาในที่อื่นๆที่เข้าไปตรวจสอบส่วนใหญ่จะไม่มีค่าแรงงาน เพราะจะขอแรงจากชาวบ้านจิตอาสาในพื้นที่ ซึ่งที่นี่อ้างว่าเป็นช่วงทำนาจะหาแรงงานได้น้อย ซึ่งตนเองก็เห็นว่าการทำนาไม่ได้ทำตลอดสามารถจัดสรรหรือขอแรงมาช่วยกันได้ เพราะเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าแรงจะได้นำมาใช้ในการก่อสร้างได้เต็มที่ ซึ่งได้แนะนำไปแล้วว่าครั้งต่อไปการทำครงการประเภทนี้ไม่ควรที่จะมีค่าแรงงาน ควรใช้เงินทั้งหมดกับการก่อสร้างเพื่อประโยชน์ของผู้ยากไร้จริงๆ ส่วนจิตอาสาหากในพื้นที่มีน้อย สามารถที่จะประสานหน่วยงานอื่น หรือสื่อมวลชนที่มีเครือข่าย ที่พร้อมจะช่วยเหลือได้อยู่แล้ว  แม้ว่าขบวนการซึ่งทาง พม.ระบุว่าสามารถทำได้ เพราะก่อนหน้านี้มีปัญหาเรื่องแรงงานโดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร จึงมีการปรับระเบียบใหม่ให้มีการจ้างเหมาได้ก็ตาม แต่ต้องคำนึงถึงประโยชนย์ของผู้ที่จะได้รับมาก่อนและไม่อยากให้มีการทำโครงการลักษณะที่ต้องหักค่าแรงอีก

 ทางด้านนายต้นตะวัน ทองภักดี ปลัด อบต.บ้านกิ่ว กล่าวว่า ขณะนี้ได้รายงานข้อเท็จจริงให้ทางอำเภอทราบแล้ว และก่อนทำโครงการฯได้มีการประชุมกับทางหมู่บ้านว่า หลังได้รับงบประมาณมาแล้วจะทำอย่างไร  แรงงานจะเอามาจากที่ไหน  ทางผู้ใหญ่บ้าน ก็บอกว่าช่วงนี้ฤดูทำนาแรงงานมีน้อย และการทำงานต้องมีทักษะ ขอให้มีการจ้างแรงงานได้ไหม ตนจึงได้คุยกับทาง ผอ.กองช่างว่าขอให้ทำสองแบบ คือแบบแรกจ้างชาวบ้าน และ แบบสองคือจ้างเหมา ซึ่งก็ทำตามระเบียบที่ พม.จว.ลำปาง แจ้งว่าทำได้  จากนั้นจึงมาประชุมชาวบ้านว่าจ้างชาวบ้านดีกว่าเพราะชาวบ้านก็จะมีรายได้ด้วย โดยระเบียบการจ้างคือ 30% ของงบประมาณ ส่วนกรณีจิตอาสาต่างพื้นที่ที่เข้ามาช่วยตนเองเพิ่งทราบเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่าจะมีจิตอาสามาช่วยรื้อบ้านตนก็บอกว่ายินดีเพราะจะทำให้การก่อสร้างเร็วขึ้น โดยตามแผนคือรื้อบ้านเสาร์-อาทิตย์ และเริ่มก่อสร้างวันจันทร์ ส่วนที่จะมีการประสานงานกับใครไว้ก่อนหน้านั้นตนเองไม่ทราบจริงๆ

 ส่วนประเด็นการจ้างแรงงานยังมีการจ้างอยู่แต่เป็นการจ้างแรงงานที่มีทักษะ 4 คน คือช่างไม้ ช่างปูน เพราะงานปูกระเบื้อง งานไม้ต้องมีทักษะไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาภายหลัง ส่วนกระเบื้องที่มีปัญหา ด้วยงบประมาณจำกัดจึงได้มาคุยกันว่ากระเบื้องส่วนไหนที่ใช้ได้ก็ให้ใช้กระเบื้องเก่าผสมด้วย ไม้เก่าก็เลือกที่ใช้ได้มาใช้ โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 9 วัน โดยแรงงานจ้าง4คน วันละ 315 บาทเป็นค่าแรงขั้นต่่ำ ส่วนการมอบบ้านจะมีปัญหาหรือไม่โดยเฉพาะกระเบื้อง  ปลัด อบต.บ้านกิ่ว กล่าวว่า ขระนี้ก็ได้สำรวจและดูกันแล้วว่ากระเบื้องเก่าที่มุงไปแล้วและมีปัญหาคือเป็นรูจำนวนมากจำเป็นต้องเปลี่ยนจะแก้ไขยังไง โครงหลังคาที่ต่อไม้เริ่มงอก็ปรึกษากันว่าจะต้องหาเหล็กมาประกบไหม ซึ่งก็จะต้องแก้ไขให้เสร็จ ซึ่งหากไม่ดีเรื่องก็จะถึงนักข่าวและทาง อบต.ก็จะถูกด่าอีก ประเด็นคือเราไม่ได้คุยกัน.

ภาพ-ข่าว  อัมรินทร์ วะนะวิเชียร จ.ลำปาง