ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าจากกรณีที่ สภาพพื้นที่ป่าพรุทะเลน้อยระดับน้ำเริ่มลด จนบางจุดแห้งสนิทเนื่องจากปรากฏการธรรมชาติฝนทิ้งช่วง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ป่าพรุ ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง แต่ล่าสุดนอกเหนือจากปัญหาไฟไหม้ป่าพรุแล้ว วันนี้ยังมีกลุ่มนายทุนนำรถแบคโฮ จำนวน 6 ตัว เร่งปรับพื้นที่ยกคันคันดินเพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัส โดดขุดและปลูกไปแล้วกว่า 300 ไร่ และกำลังดำเนินการขุดอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวบ้านที่ทำมาหากินในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยหวั่นรับผลกระทบหากมีการนำต้นยูคาลิปตัส มาปลูกจำนวนมากและเป็นบริเวณกว้าง จะส่งผลกระทบระยะยาวต่อระบบนิเวศน์ของที่นี่ ไม่ว่าทั้งพืช ทั้งสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์น้ำจืดหลายชนิดอาจจะสูนพันธ์ เมื่อต้นยูคาลิปตัสเจริญเติบโต และน้ำในทะเลสาบลดลงไม่เป็นไปตามระบบนิเวศน์ก่อนหน้า
ชึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบกับระบบนิเวศน์แล้วล่าสุดเริ่มส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตการเลี้ยงควายน้ำทะเลน้อย เนื่องจากพื้นที่ทุ่งหญ้า ที่กลุ่มนายทุนดำเนินการขุดนั้นเป็นทุ่งหญ้าป่าพรุ ที่ชาวบ้านนำควายไปเลี้ยงปล่อยทุ่ง ในจุดดังกล่าวกว่า 1000 ตัว โดยพื้นที่น้ำหลากควายจะอาศัยดำน้ำกินหญ้า หน้าแล้งน้ำลดควายได้เดินหากินได้ตลอดทั้งวัน แต่เมื่อกลุ่มนายทุนเริ่มปรับพื้นที่อาชีพการเลี้ยงควายน้ำ ตรงจุดนี้ ก็เริ่มได้รับความเดือดร้อน
ด้านนายศักดิ์ดา คงเอียง อายุ 59 ปี และนายบุญส่ง ไล่สาม เกษตรกรเจ้าของควายน้ำทะเลน้อยกล่าวว่า ปกติพื้นที่ดังกล่าว ตรงรอยต่อต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง กับ ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา เป็นพื้นที่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย และเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ชาวบ้านที่เลี้ยงความขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการปรับดินเพื่อสร้างคอกควายให้สูงช่วงน้ำหลากมันแสนยาก ขอกันมาเป็น10 ปี ยังไม่ได้เลย แต่มาปีนี้หลังเจอสภาพแล้ง มีกลุ่มนายทุนนำรถแบคโฮ มาขุดปรับสภาพดินยกคันสูงเพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัสส่งออก เจ้าหน้าที่กลับปล่อยให้ขุดเฉย โดยไม่มีการตรวจสอบแต่อย่างใด ชึ่งหากชาวบ้านนำแบคโฮมาขุดสร้างที่พักควายถูกเจ้าหน้าที่ไล่จับกุมทันทีนายศักดิ์ดา ยังกล่าวอีกว่า พื้นที่ที่มีการปรับดินปลูกต้นยูคาลิปตัสนั้น เป็นทุ่งหญ้าที่ชาวบ้านเลี้ยงควายน้ำทะเลน้อยมาแล้วหลายช่วงอายุคน โดยตนนั้นเป็นรุ่นที่ 3 ต่อไปหากมีการรุกพื้นที่เลี้ยงควาย วิถีการเลี้ยงควายน้ำแม้จะยกให้เป็นมรดกโลก ก็คงจะเหลือเพียงตำนาน
ขณะที่ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสอบถามอดีตหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยพัทลุง ว่าพื้นที่ตรงที่มีการนำแบคโฮ เข้ามาปรับพื้นที่เพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัส ส่งออกนั้น เป็นพื้นที่ 1 ใน 70,000 ไร่ ที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ ครอบครองโดยมิชอบ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า นส.3 บิน และก่อนหน้านี้ทางเขตห้ามล่า พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ เข้ามาตรวจสอบครั้งหนึ่งแล้ว และทำการเพิกถอน แต่ไม่แน่ใจว่ารอบนี้มาดำเนินการขุดได้อย่างไรหรือไม่ ขณะที่ วันที่ 28 สิงหาคม 66 ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเลี้ยงควายน้ำทะเลน้อย และชาวบ้านที่มีอาชีพหาปลาน้ำจืดขายในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ได้เดินทางไปสอบถามด้วยวาจากับนาย ปราโมทย์ แก้วนาง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยพัทลุง ว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้มีการปลูกต้นยูคาลิปตัสในพื้นที่ชุ่มน้ำได้อย่างไร และมีการอ้างเอกสารสิทธิครอยงได้อย่าง ทั้งที่ต้นยูคาลิปตัส จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของพื้นที่ป่าพรุที่นี่โดยได้ยื่นหนังสือถึงความเดือดร้อนเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มนายทุนเข้าปรับพื้นที่ปลูกป่ายูคาลิปตัส
ชึ่งนายศุภเศรษฐ โอภิธากรณ์ ชาวบ้านทะเลน้อยพัทลุง กล่าวว่า หากกลุ่มทุนได้ปลูกต้นยูคาในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย นั้นเชื่อว่าพื้นที่ทะเลน้อยจะได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่ว่าปลาผิวน้ำหรือระบบนิเวศน์ของที่นี่ เพราะทุกท่านทราบดีว่าต้นยูคาลิปตัส นั้นเป็นพืชเอเลี่ยน จะมีการดูดน้ำจากทะเลน้อยไปใช้ในจำนวนมาก และใบหากตกหล่นในน้ำจะทำให้น้ำเสียปลากไม่สามารถวางไข่ได้ ขณะที่นาย สมใจ เอ้งเส้ง อายุ 59 ปี ปกติพื้นที่ ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และพื้นที่ ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา ชาวบ้านในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดิน แต่สงสัยทำไมกลุ่มทุนจึงมีเอกสารสิทธิ์
ด้านนาย สมศักดิ์ (สื้อแดง) คนงานรับจ้างดูแลโครงการปลูกต้นยูคาลิปตัส ของเภาคเอกชน กล่าวว่าในส่วนของรายละเอียดโครงการปลูกนั้นตนไม่ทราบ แต่ก่อนดำเนินการขุด เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยได้ลงมาดูแล และอนุญาตให้ขุดแล้ว จึงได้ดำเนินการขุด ชึ่งพื้นที่ดังกล่าวตนไม่ทราบว่าอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยหรือไม่ เพราะเจ้าของบอกที่ดินมีเอกสารสิทธิ์
นายปราโมทย์ แก้วนาง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง กล่าวว่า เบื้องต้นหลังจากเจ้าของควายน้ำทะเลน้อย ได้รับความเดือดร้อนจากการปรับขุดเพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัส และอาจจะส่งผลกระทบระยะยาว ชึ่งทางเขตไม่สามารถยับยั้งการขุดได้เมื่อ เจ้าของโครงการได้ยื่นเอกสารการครอบครอง นส.3 มาแสดง ก็ถือว่าเป็นเอกสารที่รัฐอนุญาติให้อย่างถูกต้อง แต่หลังจากนี้จะได้รายงานไปยังกรมอุทยานฯให้ตรวจสอบภาพถ่ายทางดาวเทียมอีกครั้งว่าเป็นที่ป่าอนุรักษ์หรือไม่ หากเป็นพื้นที่อนุรักษืก็จะได้ทำการตรวจยึดต่อไป ในขณะเดียวกันเบื้องต้นจากการตรวจสอบแปลงดังกล่าว โดยก่อนหน้านี้ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการถือครองที่ดินในพื้นที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพบ 70000 ไร่ ออกโดยมิชอบกฤษฎีกา ตีความให้เพิกถอนการครอบครองทั้งหมด ชึ่งเรื่องดังกล่าวยังไปติดอยู่ที่สำนักงานที่ดิน
ภาพ-ข่าว ไสว รุยันต์ จ.พัทลุง