ที่ห้องประชุมบัวหลวง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ครั้งที่ 1) งานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) โดยมี ดร.ชุมโชค นันทวิชิต ผู้จัดการโครงการงานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) กล่าวว่ารายงาน โดยมีนายไพจิตร โพธิ์จันทร์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงปทุมธานี ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้แทนภาคเอกชนร่วมแสดงความคิดเห็น
ตามที่กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด และบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาโครงการงานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง และงานศึกษาปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษโดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียนผ่านทาง พร้อมการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอร่างแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR-MAP) และนำเสนอความก้าวหน้าผลของการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Pre-Feasibility Study) ในเส้นทางตามแผนแม่บทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย 1.เส้นทาง MR 10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 และ เส้นทางเชื่อมต่อวงแหวนรอบที่ 2 และ 3 ได้แก่ บ้านแพ้ว-ปากท่อ และ บางปะอิน-สุพรรณบุรี 2.เส้นทาง MR 1 เชียงราย-นราธิวาส ช่วงนครสวรรค์-นครปฐม 3.เส้นทาง MR 6 กาญจนบุรี (ด่านพุน้ำร้อน)-สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก)-ปราจีนบุรี
ด้าน ดร.ชุมโชค นันทวิชิต ผู้จัดการโครงการงานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) กล่าวว่า ในส่วนของจังหวัดปทุมธานีจะเป็นถนนวงแหวนรอบ 3 อยู่ที่จุดเชื่อมโยมยังทางหลวงหมายเลข 7 จากจังหวัดสมุทรปราการ ผ่านกรุงเทพ หนองจอก เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี บริเวณ อ.ลำลูกกา ผ่าน อ.ธัญบุรี คลองสิบ อ.หนองเสือ นอกจากนี้ยังมีถนนเชื่อมโยมถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก (จตุโชติ) โดยเส้นทางนี้จะเชื่อมไปยังนครนายก ปราจีนบุรี ตามแผนจะเริ่มดำเนินการในปี 2564 ถึง 2584 เป็นแผน 20 ปี ชาวปทุมธานีจะมีการเดินทางที่สะดวกยิ่งขึ้น สามาราถเดินทางเชื่อมโยมเข้ากรุงเทพมหานคร รวมถึงลดปัญหาการจราจรในพื้นที่เมือง ซึ่งจะใช้เส้นทางหลวงพิเศษแทน เนื่องจากในขั้นตอนนี้อยู่ระหว่างการศึกษาแผนแม่บท ในภาพร่วมในแต่ละเส้นทาง เมื่อทำเสร็จแล้วหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมทางหลวง การรถไฟแห่งประเทศไทย จะต้องศึกษาออกแบบ รายละเอียดในขั้นต่อไป ซึ่งประชาชนที่ได้รับผลกระทบในบริเวณที่จะต้องเวรคืนจะต้องทราบข้อมูลที่ชัดเจนมายิ่งขึ้น นับจากนี้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้ วันนี้เป็นการประชุมกลุ่มย่อยครั้งแรกที่จังหวัดปทุมธานี โดยเราจะจัดประชุมกระจายไปทั่วประเทศ.
ภาพ-ข่าว ธีทัต อุ้มญาติ จ.ปทุมธานี