สมาคมผู้ไม่มีที่ดินทำกิน-อาศัย ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา ประมาณ 50 คน รวมตัวกัน บริเวณร้านกาแฟบ้านอายาซอ หมู่ที่ 2 ต.ตาเนาะแมเราะห์ อ.เบตง จ.ยะลา เยื้อง กับศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติเบตง ยะลา หรือ สำนักสัมมาอะระหัง เดิมชื่อว่า มูลนิธิธรรมมะตะวัน  เพื่อร่วมหารือข้อสรุป ในการขับเคลื่อน ขอความเป็นธรรม ให้ชาวบ้านสามารถมีที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน  หลังจากได้ยื่นหนังสือผ่าน นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง ถึงนายภิรมย์ นิลทยา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา แต่ยังคงถูกไล่ที่  ซึ่งเป็นพื้นที่ราชพัสดุ กว่า 1,400 ไร่ ต่อมา ในช่วงปี 2558 ได้มีการไล่ ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งที่ชาวบ้านอาศัยอยู่นาน ถึง 40 กว่าปี รวมทั้งยังมีการแจ้งความดำเนินคดีชาวบ้านในพื้นที่ รวม 7 ปี 13 คน คนละ 2  ข้อหา คือ บุกรุก และ ลักทรัพย์ กรณีดังกล่าวทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ 200 คน ในขณะเดียวกัน ชาวบ้านยังพบการประกาศขายในโซเซียล ที่ดิน ของราชพัสดุในราคา ไร่ละ 4 แสนกว่าบาท

นายประเสริฐ เกาะกลาง แกนนำชาวบ้าน  กล่าวว่า ชาวบ้านจะเช่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน พวกเขาไม่ให้เช่า แต่ ให้นายทุน ทำทีเช่า แต่เอาจริงทำสัญญาซื้อขาย  ชาวบ้านในพื้นที่ ได้รวมตัวเพื่อขอความเป็นธรรม และขอพิจารณา ให้ชาวบ้านผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัย และที่ทำกินได้ขอแบ่งเช่าพื้นที่เพื่อทำมาหากินและเป็นที่อยู่อาศัย แต่ถูกปฏิเสธจากผู้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ต่อธนารักษ์ จ.ยะลา ขณะเดียวกัน ผู้เช่าเจ้าของพื้นที่ อันนี้ดูจากเอกสาร เขาได้แบ่งที่ดินประมาณ 5 ไร่แรกๆ ให้แก่ มูลนิธิธรรมตะวัน โดย นางธรรมพร ประมวลโกศลยุต  หรือ ที่ตั้ง ศูนย์ปฏิบัติ ธรรมนานาชาติเบตง  ยะลา หรือ สำนักสัมมาอะระหัง ในปัจจุบันที่มีการติดป้ายหน้าสำนัก ทำการเช่าพื้นที่จนปัจจุบัน ประมาณ 100 ไร่ เป็นเงินหลายล้านบาทอันนี้ที่ชาวบ้านเขาเล่ากัน ตามเอกสารอ้างว่า เพื่อประโยชน์อย่างอื่น (เพื่อเป็นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมของมูลนิธิธรรมตะวัน) และนอกจากนี้ ยังมีคนในพื้นที้ป็น นอมีนี แทน  นายพล หลายคนทั้งที่รับราชการเป็นทหาร และตำรวจ รวมทั้งชาวต่างชาติ มาเลเซีย อีกด้วย แต่ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์เช่า ทำให้ชาวบ้านเกิดความเห็นว่าไม่มีความเป็นธรรมต่อประชาชนที่จะใช้ประโยชน์ในพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งเป็นที่ดินของหลวง ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกัน และเคยได้ทำหนังสือยื่นไปถึง คสช. รวมถึงนายกรัฐมนตรี มาแล้ว แต่เรื่องราวดังกล่าวกลับเงียบหายไป 

ล่าสุดผู้ว่าราชการจ.ยะลา บอกว่า จะทำให้เสร็จภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมาที่ทางสมาคมฯได้ยื่นหนังสื่อ แต่ไม่ได้บอกจะทำให้เสร็จยังไง ส่วนชาวบ้าน มองว่าพวกเราไม่เชื่อว่าเขาจะดำเนินการจริงเพราะ 7 ปี ที่มีการเคลื่อนไหวขอความเป็นธรรมผู้มีอำนาจก็จะตอบมาแบบนี้ แต่ก็ให้เวลาผู้ว่าฯได้ดำเนินการตามที่พูด   พวกเราจึงคุยกันว่าจะเคลื่อนไหว อีก 2 เดือนหลังจากนี้ หากไม่มีความคืบหน้า อาจ เดินทางไป กทม.เพื่อขอความเป็นธรรมจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะที่ผ่านมา ช่วงที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ มีความพยายามจะเข้าไปพบแต่ถูกเจ้าหน้าที่ปล๊อคตัวชาวบ้าน เราต่อสู้มาตลอดนาน 7 ปีในช่วงยุครัฐบาลนี้ ชาวบ้านโดนไล่ที่ทุกวัน แต่สุดท้ายในจำนวน 1400ไร่ ที่อยู่ตรงพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านบ่อน้ำร้อน ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเทียว บ่อน้ำร้อน ถ่ำปิยมิตร ที่มีนักท่องเทียวมาจำนวนมากทุกวัน ของเบตงด้วย เป็นพื้นที่ราชพัสดุ จำนวนกว่า 1,400 ไร่ ที่ดินถูกแบ่งขายให้ นายทุนและนอมินี ให้กับชาวมาเลเซีย กว่า 200 คน ประมาณ 500 ไร่ ในราคา 4-6 แสนบาท โดยทำทีว่าเช่ากับราชพัสดุ เอาเข้าจริงแค่ตบตาชาวบ้าน  พวกเราพร้อมยุติเรื่องนี้ถ้าชาวบ้านมีที่อยู่อาศัย และพื้นที่ทำกิน ที่ไหนก็ได้ ที่รัฐคิดว่าสมควร ไม่ได้จำกัดเฉพาะพื้นที่ตรงนี้เพราะชาวบ้านที่ออกมาร้องเรียนเดือดร้อนจริงๆ ถ้าเขาไม่เดือดร้อนเขาคงไม่ออกมาร้องขอความเป็นธรรม พวกเราต่อสู้มานาน  7 ปีตั้งแต่รัฐบาลนี้ มีชาวบ้านต่อสู้จนตายก็มี แต่รัฐบาลก็ยังไม่เห็นใจพวกเรา ก็ขอฝาก ท่านนายกรัฐมนตรี โปรดเห็นใจชาวบ้านมากกว่านายทุน

นายไข่ นวดทอง อายุ 65 ปี กล่าวว่า  อยู่ที่มานาน 40 ปี โดนคดีเหมือนกัน บางคนก็เขาแจ้งความแต่ศาลไม่รับฟ้องเพราะรู้อยู่ว่า ความจริงที่เกิดขึ้น คืออะไร พวกเราชาวบ้านต้องการแค่พื้นที่ทำกินและอยู่อาศัย แต่กลับไม่ได้รับความเป็นธรรม แม้จะเดินทางไปขอพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างลงพื้นที่ แต่ถูกเจ้าหน้าที่บล๊อคตัวทุกครั้งจนกระทั่งคณะนายยกฯกลับ พวกเราก็จะถูกเขาปล่อยตัว

นายมณฑน สุเทวี อายุ 62 ปี    กล่าวว่า เคยเป็นลูกจ้างกรีดยาง ของ คนที่เช่าที่จากราชพัสดุ มานานหลายสิบปี จนกระทั่งถูกเขาแจ้งคความดำเนินคดี บุกรุก ลักทรัพย์เป็นกล้วยที่เราปลูกบนพื้นที่ ของเขาอ้างว่าเช่า ทั้งที่ผมและครอบครัว อยู่ที่นี้มานาน 35 ปี  ตอนนั้นผมเป็นลูกจ้างกรีดยางของผู้เช่าแล้ววันหนึ่ง เขาจะปลูกต้นไม้โตเร็ว  ผมจึงเสนอว่า เถ้าแก่ถ้าเอาต้นไม้เล็กๆมาปลูกแบบนี้ไม่มีอะไรบังแดดมันจะตายน่า เขาถามว่าแล้วจะทำยังไง ที่นี้ผมก็ปลูกกล้วยเพื่อให้ มันบังแดด ผมก็ปลูกกล้วยจนสามารถเก็บผลผลิตไปขาย นาน ถึง 7 ปี จนกระทั่งผมมาร่วมเคลื่อนไหว้กับชาวบ้านเพื่อขอเช่าพื้นที่ ทำสนามกีฬา และที่ออกกำลังกายแต่ถูกปฎิเสธ แต่อยู่ๆเขาไปขาย โดยทำทีให้เช่าให้กับวัดนี้  อยู่ๆเขาไปแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าผมและครอบครัว ผม แฟน ลูกสาว ว่า ขโมยกล้วย  และเป็นผู้บุกรุก ผมก็ทำหนังสื่อขอความเป็นธรรมไปที่ยะลา ถึง นายกรัฐรัฐมนตรี ต่อสู้ จนศาลรอลงอาญา แสดงว่าเรื่องนี้ ความเป็นธรรมไม่มี สำหรับชาวบ้านแล้ว การให้พื้นที่กับวัดนั้น ไม่ได้ทำประชาคมหมู่บ้านให้ชาวบ้านรับรู้

นายนุท พรมสังข์  66 ปี  กล่าวว่า อาศัยอยู่ที่นี้ นาน 40 กว่าปีในพื้นที่นี้ ผมไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่อาศัยบนพื้นที่ราชพัสดุอย่างถูกกฎหมาย ทั้งที่พวกเรามีความพยายามที่จะขอเช่า แต่เขากลับให้คุณค่ากับนายทุน กับนายพลและชาวมาเลเซีย โดยให้คนพื้นที่เป็นนอมีนี  ขอนายกรัฐมนตรีเห็นใจพวกเราด้วย ขอให้พวกเราเดือดร้อนในยุคของท่าน แล้วความเดือดร้อนนี้ จบลงในยุคของท่านด้วย

ภาพ-ข่าว อะหมัด รามันห์สิริวงศ์/ยะลา/